Pain and Glory อันโตนิโอ แบนเดอรัส เปโดร อัลโมโดวาร์

เปโดร อัลโมโดวาร์ กับวิบากกรรมการทำหนังใน Pain and Glory แด่หนัง ชีวิต และความเจ็บปวด

Home / หนัง / เปโดร อัลโมโดวาร์ กับวิบากกรรมการทำหนังใน Pain and Glory แด่หนัง ชีวิต และความเจ็บปวด

Pain and Glory ถือเป็นผลงานล่าสุดของผู้กำกับมากฝีมือ เปโดร อัลโมโดวาร์ เจ้าของฉายาเจ้าป้าแห่งวงการภาพยนตร์ ที่กวาดรับคำชมอย่างล้นหลาม และเป็นการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของ อันโตนิโอ แบนเดอรัส จนเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ทั้งคู่ร่วมงานกันหลายครั้ง ก่อนหน้านั้นคือ The Skin I Live In แต่กว่าจะเป็นภาพยนตร์น่าจดจำนั้นก็ต้องผ่านความยากลำบากหลายอย่าง และผู้กำกับก็ได้เปิดใจเกี่ยวกับการทำงานครั้งนี้

ส่วนใหญ่หนัง Pain and Glory จะเน้นไปที่การต่อสู้เรื่องสุขภาพของตัวละครเอก อะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้คุณทำหนังเกี่ยวกับประเด็นนี้ ?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  ผมไม่เคยคิดว่าผมจะทำหนังเกี่ยวกับความเจ็บปวดเหล่านี้ ผมโชคดีจริงๆในชีวิต ผมไม่เคยฝันว่าผมจะมีชีวิตแบบที่ผมเคยประสบเหตุและผมก็ไม่อยากบ่นอะไร หลายอย่างรอบตัวผมมันรายล้อมด้วยคนพันๆคนที่อยู่ในสถานการณ์เลวร้ายกว่า แต่คุณก็พูดถึงเกี่ยวกับตัวเองและผมก็ถ่ายทอดลงในหนังของผมเสมอ ไม่ใช่แค่หนังเรื่องนี้ หนังเรื่องอื่นๆก็นำเสนอตนเองในแบบอ้อมค้อม บางครั้งผมอยู่เบื้องหลังตัวละครที่ใม่ใช่คนทำหนัง บางครั้งผมอยู่เบื้องหลังตัวละครผู้หญิงแต่เป็นเรื่องจริงที่มันเป็นครั้งแรกที่ผมเอาตัวเองเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับตัวละคร หนังเหล่านี้ทั้งหมดมันมีต้นกำเนิดมาจากสถานการณ์ความเป็นจริง และความเป็นจริงก็อยู่ในตัวผม ผมจึงจำเป็นต้องถอยห่างจากสิ่งนั้น แต่บางครั้งเมื่อผมเขียนบท Pain and Glory ผมก็รู้สึกวิงเวียนเพราะผมจะโยงใยตัวเองมากกว่าที่ผมเคยทำมาก่อนครับ

มันเป็นการตัดสินใจของคุณหรือเปล่าที่ทำให้ตัวละครของอันโตนิโอ แบนเดอรัสดูเหมือนคุณ ?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  แน่นอน ในหนังของผมนั้นผมเป็นคนที่ตัดสินใจทุกอย่าง มันมีเหตุการณ์ตอนก่อนงานสร้างที่เมื่อคุณเริ่มออกแบบใบหน้าของตัวละครหลัก ผมคิดว่าบางทีเขาควรจะมีทรงผมในแบบของเขาเอง แม้กระทั่งเสื้อผ้า ผมให้เสื้อแจ็คเก็ตและรองเท้า แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมให้อพาร์ทเมนต์ที่ผมอาศัยอยู่แก่ตัวละครของผม ภาพวาดก็เป็นของผมเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นก็เป็นของผม นี่ทำให้กระบวนงานสร้างทั้งหมดมันนดูรวดเร็วกว่า ทุกคนเข้ามาที่บ้านของผมและทำสำเนามันในสตูดิโอ

แต่ผมก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้จะคงเหมือนเดิมถ้าอันโตนิโอมีผมสีแดงหรือทำทรงผมทรงอื่นๆ

เมื่อฉันสัมภาษณ์เขาเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน แบนเดอรัสบอกฉันว่าเขามีนิสัยแปลกๆในฮอลลีวูดที่คุณต้องกีดกันเขาออกจากช่วงที่คุณร่วมงานทำหนังเรื่อง The Skin I Live In นิสัยแปลกๆเหล่านั้นคืออะไร?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  เขาเป็นเด็กดีจริงๆ นะ เป็นคนใจกว้างที่จะพูดถึงปัญหาเหล่านี้ มันเป็นเรื่องจริงที่เรามีความคิดแตกต่างมากๆเกี่ยวกับนิสัยแบบนี้ซึ่งเรากำลังจะลงมือทำและเขาก็จะตีความตัวละครของเขาออกมาอย่างไร เราถกเถียงกันแต่สุดท้ายแล้วมุมมองของผมก็มีชัยเหนือกว่าเพราะอันโตนิโอเป็นนักแสดงที่มีวินัยมากๆ และเขาก็จะลงมือทำในสิ่งที่ผมขอร้องไว้ต่อให้เขาไม่รู้สึกผูกพันเชื่อถือนัก ผมไม่ได้สบายใจที่เห็นเขาทำแบบนั้น ก็แค่เปิดโอกาส แต่คุณต้องยึดหลักความเป็นจริงเมื่อคุณเริ่มถ่ายทำหนัง และอันโตนิโอก็เป็นคนจริงใจจนเมื่อ The Skin I Live In ฉายในโตรอนโตและเขาดูหนังเป็นครั้งแรก เขาก็เข้าใจทุกอย่างที่ผมเคยบอกเขาตอนถ่ายทำหนัง มันเป็นบทเรียนสำหรับเขาในแง่ความรู้สึก และบทเรียนนั้นก็สำคัญมากสำหรับหนัง Pain and Glory เพราะเมื่อเขาอ่านสคริปท์นี้ เขารู้ว่าเขาอยากทำแน่นอน และเขาก็พูดว่า “ไม่ต้องเป็นห่วง เปโดร ผมจะมีบทบาทแตกต่างกันมากกว่าใน The Skin I Live In ผมจะเปลือยความรู้สึกออกมาทั้งหมดในมือของคุณ และคุณจะทำอะไรก็ได้ตามที่คุณต้องการ”

นี่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่ชอบนักแสดงที่นึกไอเดียส่วนตัว มันเป็นธรรมชาติที่นักแสดงอาจจะมีไอเดียส่วนตัวว่าจะตีความออกมาอย่างไร โดยเฉพาะกับนักแสดงมากประสบการณ์อย่างอันโตนิโอ และนักแสดงที่เคยเป็นผู้กำกับ(ซึ่งเขาก็เป็น) อีกทั้งผมก็รู้จักนักแสดงที่ต้องทำการบ้านกับตัวละครด้วยตัวเองเพราะผู้กำกับไม่ได้ให้สัญญาณจริงๆแก่นักแสดงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ในกรณีของผม ผมมักจะให้คำแนะนำเสมอ และเมื่อคุณมีผู้กำกับที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจนเรื่องสิ่งที่เขาต้องการ มันก็เป็นหน้าที่ของนักแสดงที่จะรับฟังและถ่ายทอดสิ่งที่ผู้กำกับต้องการ

นี่มักเป็นสไตล์ของคุณในการกำกับนักแสดงหรือเปล่า?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  ใช่แล้ว แม้กระทั่งตอนผมถ่ายด้วยกล้องซูเปอร์ 8 ผมก็ทำแบบเดียวกันแน่นอน นักแสดงคือหน้าตาของหนัง สายตาของตัวหนัง กระบอกเสียงของหนัง มันมีองค์ประกอบอย่างอื่นทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในการทำหนังซักเรื่อง การถ่ายภาพ การวางฉาก ฯลฯแต่สิ่งที่คนดูจะผูกพันเข้าถึงได้ก็คือนักแสดง ผมกลายเป็นผู้กำกับเพราะผมชอบทำงานร่วมกับนักแสดง ผมชื่นชมพวกเขาและเป็นบุญคุณแก่พวกเขาเสมอ นักแสดงได้มอบชีวิตให้จินตนาการที่ผมเคยเขียนที่บ้าน ดังนั้นหน้าที่ที่พวกเขาทำคือการแสดงออกถึงความใจกว้างครับ

อะไรคือความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดที่คุณเคยมีกับนักแสดง?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  ผมจะไม่เอ่ยนามเพราะไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ และโดยทั่วไปผมโชคดีนะ ผมจำได้ว่ามีแค่สามครั้งที่ผมขัดแย้งครั้งใหญ่ และผมต้องทนอย่างมากๆเพราะนักแสดงไม่อยากที่จะทำในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ หรือว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในที่ๆ เหมาะสม หรือว่าเรามีความสัมพันธ์เลวร้ายที่ถูกถ่ายทอดลงในหนัง มันแย่มากๆที่สิ่งนี้บังเกิด

ผมจำเหตุการณ์ที่เจ็บปวดที่สุดได้ เป็นครั้งแรกเลยผมต้องไปหาจิตแพทย์เพราะความวิตกกังวล มันเป็นสถานการณ์รุนแรงที่ผมทำอะไรไม่ได้เลยกับทักษะของนักแสดง แต่เขามีปฏิกิริยาทางจิตรุนแรงต่อตัวละคร แล้วเขากับผมก็ต้องไปหาจิตแพทย์ ผมต้องรับมือกับความวิตกกังวลและเขาต้องรับมือกับประเด็นของเขา น้องชายผมเชื่อว่าเราไม่มีทางทำหนังเรื่องนั้นได้เสร็จแน่ แต่ผมไม่ยอมแพ้ ความคิดที่จะไม่ทำหนังให้เสร็จเป็นสิ่งที่เจ็บปวดที่สุดเท่าที่ผมคิดได้ ต่อให้นักแสดงและผมพยายามจนตาย เราก็จะทำหนังเรื่องนั้นให้เสร็จ เราต้องหาจุดยืน และบางครั้งผมก็เขียนตัวละครใหม่เพื่อนักแสดงที่เหมาะสม และเป็นระยะยาวนานที่สุด ผมไม่สามารถดูหนังเรื่องนี้ได้ แต่ผมได้ดูอีกครั้งเมื่อสี่เดือนที่แล้วในงานฉายหนังรำลึกในสเปน และผมก็พอใจจริงๆกับผลที่ออกมา จากการเขียนบทบาทขึ้นมาใหม่เพื่อให้แสดงออกมาได้ดีสำหรับหนังเรื่องนั้น มันเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่ คุณไม่รู้หรอกว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นและคุณต้องพร้อมรับมือกับมัน แต่นี่เป็นกรณียกเว้นในการงานของผม 95 เปอร์เซ็นต์ของกรณีเหล่านี้ ผมเลือกนักแสดงได้ถูกและพวกเขาก็ยอดเยี่ยมมากครับ

อย่างน้อยคุณช่วยบอกชื่อหนังเรื่องนั้นได้ไหม?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ไม่หรอก ถ้าผมบอกชื่อหนัง คุณก็รู้ชื่อนักแสดงคนนั้นนะสิครับ

เมื่อคุณทำหนังครั้งแรก คุณทำงานในสเปนที่ยังอนุรักษ์นิยม สองสามปีหลังจากการเสียชีวิตของจอมพลฟรังโก ฉันรู้ว่ากระแสตอบรับต่อหนังเรื่อง Labyrinth of Passionในตอนนั้นรุนแรงพอสมควร คุณหวาดกลัวกับกระแสนั้นหรือเปล่า?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ผมไม่กลัวหรอก ความมุ่งมั่นของผมคือทำหนังที่ผมอยากทำ และความมุ่งมั่นนั้นก็พาผมไปยังที่ๆผมไม่แยแสต่อบรรดาปฏิกิริยาต่อหนังของผม ไม่ใช่แค่เรื่อง Labyrinth of Passion แต่รวมถึงหนังเรื่อง Dark Habits เราอาจจะมองว่าสเปนเปิดกว้างทางโลกแต่จริงๆแล้วเราเป็นประเทศคาทอลิกเคร่งครัด ในหนังเรื่อง Dark Habits นั้น เรามีแม่ชีที่ช่วยเหลือโสเภณี คนติดเฮโรอีน ฆาตกร หนึ่งในบรรดาแม่ชีก็ฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น เมื่อพิจารณาบริบทของสเปน มันเป็นหนังที่ยากลำบากมากๆ

แต่ผมสามารถเห็นว่าสังคมสเปนได้เปลี่ยนแปลงมากน้อยอย่างไรในตอนนี้ เพราะเมื่อ Dark Habits ออกฉายทางทีวีไม่นานมานี้ หลายคนพูดว่าคุณทำหนังเรื่องนี้ในสเปนไม่ได้อีกต่อไป ไม่ใช่ในสเปนร่วมสมัยซึ่งหมายความว่าสเปนในตอนนี้มันแย่กว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในยุค 1980 สังคมสเปนในคราวนั้น (ยุคที่หนังออกฉายโรง) มันเปิดกว้างยอมรับเรื่องแบบนั้นมากกว่าตอนนี้เสียอีก สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนั้นคือเราพึ่งเข้าสู่แนวคิดประชาธิปไตยและเสรีภาพ ปฏิกิริยาของสังคมคือ ผู้คนรู้สึกกลัวเพราะว่าพวกเราได้ปิดถนน ส่วนพวกเขาก็ต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านเพราะไม่อยากจะก่อเรื่อง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือผู้คนที่เคยหลบๆซ่อนๆและขวาสุดโต่งได้ปรากฏตัวอีกครั้งในสเปน นี่เป็นเรื่องแย่สำหรับสเปนแต่มันก็กำลังเกิดขึ้นทั่วยุโรป ผลกระทบของประธานาธิบดีทรัมพ์กำลังทำลายยุโรป เขาเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตัวละครเหล่านี้ขึ้นมาซึ่งอันตรายมากๆครับ

ช่วงแรกๆคุณมีผลงานที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา เคยมีฮอลลีวูดชักชวนคุณให้ทำหนังที่นี่หรือเปล่า?เปโดร อัลโมโดวาร์: ใช่ครับ สองสามครั้ง หลังจาก Women on the Verge of a Nervous Breakdownออกฉาย ก็มีคนเสนอโปรเจกต์หลายชิ้นให้ผมทำหนังในอเมริกา รวมถึงงานรีเมค Women on the Verge of a Nervous Breakdown แต่ผมลังเลเกี่ยวกับความตั้งใจของพวกเขาเสมอ พวกเขาบอกผมเสมอว่าผมมีเสรีภาพและความอิสระเท่าเทียมกันกับที่ผมคุ้นเคย แต่ผมไม่เชื่อหรอก ผมคุยกับผู้กำกับหลายคน ทั้งผู้กำกับหนังฮอลลีวูดและผู้กำกับอิสระ อย่างมาร์ติน สกอร์เซซีและพอล ชเรเดอร์ และเรื่องราวที่พวกเขาบอกมาก็น่ากลัวจริงๆ พูดเรื่องวิธีที่ฮอลลีวูดสร้างหนัง ดังนั้นเมื่อพวกเขาพยายามหลอกล่อผม ผมก็โตพอที่จะรู้ว่าผมต้องการทำอะไร สิ่งที่ผมเห็นคือวิธีการสร้างหนังในฮอลลีวูดมันแตกต่างจากวิธีที่ผมทำ มันไม่ใช่คำถามเกี่ยวกับอำนาจ ในยุโรปนั้นมันชัดเจนเลยว่าผู้กำกับเป็นเจ้าของตัวหนัง แต่ที่นี่มันมีกระบอกเสียงหลายเสียงที่เป็นความคิดเห็นต่อกระบวนงานสร้างและผมก็ไม่คิดว่าผมสามารถทำงานแบบนั้นได้ ผมไม่รู้วิธีการเอาอกเอาใจพวกเขาและผมก็จะสับสนครับ



          “Pain and Glory แด่หนัง ชีวิต และความเจ็บปวด”  คือหนังที่ผู้กำกับ เปโดร อัลโมโดวาร์ หยิบยกเรื่องราวชีวิตในอดีตของตัวเองมาถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ชีวิตของ’ซัลวาดอร์ มัลโล’ (แอนโตนิโอ แบนเดอรัส) ผู้กำกับภาพยนตร์เจ้าของผลงานชื่อดังในอดีตที่กำลังประสบปัญหาความว่างเปล่าในชีวิตส่วนตัวจนนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความสามารถในการสร้างภาพยนตร์ถดถอยลง รวมไปถึงปัญหาทางสุขภาพกายที่กำลังย่ำแย่ ก่อนจะพบหนทางสว่างที่สร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีไฟอีกครั้ง 

เตรียมพบกับผลงานที่ดีที่สุดในชีวิตของ ‘แอนโตนิโอ แบนเดอรัส‘ การันตีคุณภาพด้วยการเข้าชิง 2 รางวัลออสการ์ และ ลูกโลกทองคำ กับหนังที่หลายสำนักยกให้เป็นอันดับหนึ่งแห่งปี “Pain and Glory แด่ฝัน ชีวิต และความเจ็บปวด” 20 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์