สมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท) นำโดย ดร.อำนาจ หมัดสดาย ประธาน สว.นท. และ ดร.ทวีศักดิ์ เผ่าบัณฑูร รองประธานฯ จัดงาน ประกาศผลรางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ รางวัล “พิฆเนศวร” ครั้งที่ ๖ ประจำปี ๒๕๖๐ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระลัญจกร ญสส. ประดิษฐานไว้ประจำโล่รางวัล พิฆเนศวรรางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อเป็นสิริมงคลและเกียรติประวัติสืบไป
สว.นท. ขอร่วมเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างมาตรฐานและความเชื่อถือให้เกิดขึ้นต่อคุณภาพของวิทยุโทรทัศน์และในสายตานานาประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นบุคลากรผู้ผลิตสื่อรายการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ต่าง ๆ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนในการผลิตสื่อรายการวิทยุโทรทัศน์รวมทั้งนักศึกษาในสถาบันที่มีการสอนด้านวิทยุโทรทัศน์เกิดขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องชมเชย สนับสนุนที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่จะเกิดการแข่งขันสร้างผลงานที่มีคุณภาพมาตรฐาน และสร้างสรรค์มีคุณค่าทางศิลปะบันเทิงตรงตามความต้องการและโอกาสของวงการวิทยุโทรทัศน์ไทย
โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกเสริมศักดิ์ วิเศษไชยศรี ที่ปรึกษาสมัชชานักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีและผู้มอบรางวัล โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลในวงการบันเทิงเข้ารับรางวัลต่างๆ ดังนี้ รางวัลกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ม.ล.สราลี กิติยากร รางวัลกิตติมศักดิ์ สาขา รางวัลผู้ส่งเสริมศาสนาดีเด่น ได้แก่ อาจารย์ศุภณัฏฐ์ อัฏฐวัฒน์ ประธานกรรมการมูลนิธิแสงธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ด้าน หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล นำทีมนักแสดงจากภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง ศรีอโยธยา ทางช่องทรูวิชั่น, ทรูฟอร์ยู และทรูไอดี คว้า 6 รางวัล อาทิ รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ซีรี่ส์ยอดเยี่ยมแห่งปี ด้านรางวัลสาขานักแสดงนำชาย-หญิงกิตติมศักดิ์ภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และ นพชัย ชัยนาม ส่วนรางวัลนักแสดงนำชาย-หญิงภาพยนตร์ซีรี่ส์อิงประวัติศาสตร์แห่งปี ได้แก่ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม และ แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ ตบท้ายด้วยรางวัลภาพยนตร์ซีรี่ส์อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ ภาพยนตร์ซีรี่ส์เรื่อง ศรีอโยธยา ทางช่องทรูวิชั่น, ทรูฟอร์ยู และทรูไอดี
ส่วนละครบู๊แอ็คชั่นฟอร์มดีอย่าง “เล็บครุฑ” ค่ายไนน์บีเวอร์ฟิล์ม ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กวาดไปถึง 6 รางวัล ได้แก่ นักแสดงนำชาย-หญิงยอดเยี่ยม ซี-ศิวัฒน์ และ ยุ้ย จีรนันท์ รางวัลผู้กำกับคิวบู๊ยอดเยี่ยม ตกเป็นของ สมใจ จันทร์มูลตรี รางวัลนักแสดงเจ้าบทบาทแห่งปี ได้แก่ สหัสชัย ชุมรุม และนักแสดงแอ็คชั่นยอดเยี่ยมแห่งปีชายและหญิง ได้แก่ นพฤทธิ์ ศรีบุตร และ เกศริน เอกธวัชกุล
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ยังกวาดไปอีก 6 รางวัลได้แก่ รางวัลพิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ วราวุธ เจนธนากุล จากรายการ ตกสิบหยิบล้าน รางวัลพิธีกรหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ เปรมสุดา สันติวัฒนา จากรายการ ฝนฟ้าอากาศ รางวัลผู้รายงานข่าวดีเด่น ได้แก่ ศรีสุภางค์ ธรรมวุธ จากรายการ ประเด็นเด็ดเจ็ดสี รางวัลนักแสดงนำชาย-หญิงพื้นบ้านดีเด่นแห่งปี ได้แก่ ข้าวตู-พลพจน์ พูลนิล และ กุ๊กกิ๊ก-กชกร ส่งแสงเติม นักแสดงจากละครพื้นบ้านเรื่อง “เทพสามฤดู” ตบท้ายด้วยรางวัลนักแสดงเยาวชนดีเด่น ได้แก่ ได้แก่ น้องอินเตอร์-รุ่งรดา รุ่งลิขิตเจริญ นักแสดงจากละครเรื่อง “เพชรร้อยรัก” ค่ายดีด้าวิดีโอโปรดักชั่น
ด้านละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ ละคร หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ผลิตโดยบริษัท ทีวีซีน แอนด์ พิคเจอร์ส จำกัด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รางวัลสาขาผู้กำกับละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ กิตติศักดิ์ ชีวาสัจจาสกุล จากละครเรื่อง หนึ่งด้าวฟ้าเดียว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รางวัลนักแสดงนำชายละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ จิรายุ ตั้งศรีสุข จากละครเรื่อง หนึ่งด้าวฟ้าเดียว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รางวัลนักแสดงสมทบชายละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ อธิชาติ ชุมนานนท์ จากละครเรื่อง หนึ่งด้าวฟ้าเดียว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รางวัลนักแสดงสมทบหญิงละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ จากละครเรื่อง หนึ่งด้าวฟ้าเดียว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรางวัลนักแสดงสมทบชายละครอิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ ภาสกร บุญวรเมธี
สำหรับละครฟีเวอร์แห่งชาติอย่าง “บุพเพสันนิวาส” ค่ายบรอดคาซท์ฯ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กวาดไป 5 รางวัล ได้แก่รางวัลละครดีเด่นแห่งปี, รางวัลผู้กำกับละครดีเด่นแห่งปี ได้แก่ ภวัต พนังคศิริ รางวัลบทโทรทัศน์ยอดเยี่ยมแห่งปี เขียนโดย ศัลยา สุขะนิวัตติ์ และรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ
ด้านรางวัลศิลปินดีเด่นชายยอดเยี่ยมแห่งปี ได้แก่ สิงโต นำโชค สังกัดค่าย What The Duck รางวัลศิลปินกลุ่มสร้างสรรค์ดีเด่นได้แก่ วง ZEROHERO รางวัลศิลปินดาวรุ่งดีเด่น ได้แก่ กฤษ บุญยะเลี้ยง ลูกทุ่ง EDM POP เพลง ขอวาร์ป รางวัลแฟชั่นดีไซเนอร์ผู้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยดีเด่น ได้แก่ ศรุดา นิ่มพิทักษ์พงศ์ แฟชั่นดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ คูนิต้า รางวัลผู้กำกับละครสร้างสรรค์ดีเด่น ได้แก่ เพ็ญจันทร์ วงศ์สมเพ็ชร ผู้กำกับละครเทิดพระเกียรติเรื่อง ฝายน้ำใจ ทางททบ.5
รางวัลสถานีวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี รางวัลรายการข่าวดีเด่น ได้แก่ รายการ ทุบโต๊ะข่าว ทางสถานีทัศน์อัมรินทร์ทีวี รางวัลสถานีวิทยุกระจายเสียงสร้างสรรค์ส่งเสริมมวลชนและสังคมดีเด่น ได้แก่ สถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ 91 มฮ. สวพ.FM91 รางวัลผู้ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ได้แก่ ดร.วโรดม ศิริสุข แห่งบ้านไอพีเอ็ม รางวัลนักธุรกิจดีเด่น ได้แก่ สุพิชญา ไพฑูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพชรวดีคอนกรีต จำกัด และผู้จัดละครเรื่อง “ดาวย้อมแสง” ทางช่องไอพีเอ็ม รางวัลรายการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาดีเด่น ได้แก่ รายการปากท้องต้องรู้ ทางช่อง 8 Channel และ รายการ คุยเรื่องกิน กินแล้วคุย ทางช่อง 5HD1 โดยผู้จัดฯ รัชนก เหมพลชม รายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ได้แก่ ทีมรังสิมันต์ รายการ “เล่าขานตำนานวีรชน” โดยสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก รายการส่งเสริมการท่องเที่ยวดีเด่น ได้แก่ รายการ เที่ยวละไมไทยแลนด์เวิล์ด ทางช่อง 3 รายการส่งเสริมสุขภาพและชีวิตดีเด่น ได้แก่ รายการ HOTLINE สายสุขภาพ ทางช่อง NATION
รางวัลผู้เป็นแบบอย่างเยาวชนดีเด่น ได้แก่ ปิยาภัสร์ คุ้มสุวรรณ์ นักแสดงจากละครเทิดพระเกียรติเรื่อง พระมหาชนก สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมไอพีเอ็ม รางวัลเน็ตเวิร์คดีเด่น ได้แก่ เว็บไซต์ sanook.com รางวัลสื่อสารมวลชนดีเด่น ได้แก่ จุมพล โพธิสุวรรณ รองบ.ก.บ.ห. สำนักข่าวบางกอกทูเดย์ และนิตยสาร Bangkok Wealth & Biz รางวัลศิลปินนักแสดงตัวอย่าง ได้แก่ วิธวินท์ เหรียญเจริญสุข นักแสดงจาก ซีรีย์ เป็ดไอดอล / รักชั้นนัย / 21 dasy / โฆษณา สสส. รางวัลศิลปินตลกดีเด่น ได้แก่ แสงดาว ทรงแสง (จอย ชวนชื่น) เป็นต้น โดยมีพิธีมอบรางวัล ณ ศูนย์ประชุมวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ