MCT จัดสัมมนาในระดับสากลเพื่อศิลปินและนักแต่งเพลงในยุคดิจิทัล ในประเด็นลิขสิทธิ์ดนตรีที่สร้างความ “ยุติธรรม” และ “เท่าเทียม”

MCT หรือ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ (the International Confederation of Societies of Authors and Composers: CISAC) และ พันธมิตรผู้สร้างสรรค์ดนตรีแห่งเอเซียแปซิฟิก หรือ APMA (Asia-Pacific Music Creators Alliance) ในหัวข้อ “ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของงานดนตรีในยุคดิจิทัล” หรือ ‘Creators’ Choice and the Value of Music in Digital Era ในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้อง Ballroom โรงแรม SO/Bangkok (ถนนสาทรเหนือ) มีนักแต่งเพลง บริษัทตัวแทนนักแต่งเพลง (มิวสิค พับลิชเชอร์) และผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 300 คน

โดยมี นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา, นายยุน มยอง ซอน (Mr. Yoon Myung Sun) ประธานบริหาร APMA, นายเบนจามิน อึ้ง (Mr. Benjamin) Regional Director for Asia-Pacific, CISAC และนายณฐพล ศรีจอมขวัญ ประธานกรรมการ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกล่าวเปิดงานสัมมนาเพื่อร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อการซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) และ มูลค่าของงานดนตรีในยุคดิจิทัล (The Value of Music in Digital Era)

ซึ่งได้รับเกียรติจากนักแต่งเพลงทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา, รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายเมเยอร์ พูริ (Mr. Mayur Puri) ผู้สร้างสรรค์ดนตรี – ประเทศอินเดีย, นายธารณ ลิปตพัลลภ (แทน ลิปตา) ผู้สร้างสรรค์ดนตรี – ประเทศไทย,นายบุญหลาย กว้างมะนีวัน (ตูมตาม) ผู้สร้างสรรค์ดนตรี – สปป.ลาว, นายแอนเดรีย โมเลอมาร์ (Arrien Molema) รองประธานคณะกรรมการผู้สร้างสรรค์ดนตรีระหว่างประเทศ the International Council of Music Creators (CIAM) – ประเทศเนเธอร์แลนด์, นายยู จีซอบ (You Giseob) KOMCA-ประเทศเกาหลี รวมถึง นายอิลแฟร์ อูเลีย (Irfan Aulia) ผู้สร้างสรรค์ดนตรี-ประเทศอินโดนีเซีย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอมุมมองในการจัดสรรค่าลิขสิทธิ์ของงานดนตรีกรรมบนตลาดสตรีมมิ่ง เพื่อให้นักแต่งเพลง ผู้สร้างสรรค์ หรือ ศิลปิน ได้รับทราบถึงแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างยุติธรรม และเท่าเทียม

โดย นายณฐพล ศรีจอมขวัญ ประธานกรรมการบริษัท MCT ร่วมกับ นายซู กา จืออล (Chu Ga Yeoul) นักแต่งเพลงและประธานกรรมการสมาคมลิขสิทธิ์เพลงแห่งเกาหลี หรือ KOMCA (Korea Music Copyright Association) โดยกล่าวถึง “ความไม่เป็นธรรมจากสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานและเกิดขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงการซื้อขาด (Copyright Buyout) ไม่ใช่เฉพาะกับนักแต่งเพลงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง ได้ตระหนักถึงการซื้อขาด ที่ส่งผลกระทบกับทุกคนในวงการดนตรี ไม่ใช่เฉพาะนักแต่งเพลง แต่ยังรวมถึงผู้ว่าจ้างเอง จากกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้น มักเกิดขึ้นจากการที่ผู้ว่าจ้างต้องการซื้อขาด ซึ่งแท้จริงแล้ว การซื้อขาดลิขสิทธิ์นั้นส่งผลกระทบทั้งทางด้านกฎหมาย และทางด้านศีลธรรม ดังนั้น การตกลงทำสัญญาเพื่อจัดสรรส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องและเป็นธรรม คือทางเลือกที่จะช่วยให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืนกับนักแต่งเพลงเอง พร้อมส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวงการเพลงไทยได้รับความเป็นธรรมตามหลักสากล”

งานสัมมนาในครั้งนี้ ได้รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ หลักปฏิบัติอันดีในการจัดสรรรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อกระตุ้นให้นักสร้างสรรค์งานดนตรีได้การคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่ตนพึงได้รับ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นักแต่งเพลง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดนตรี รวมทั้งผู้ที่สนใจได้อย่างครบถ้วน

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมรับฟังย้อนหลังเพิ่มเติมได้ทาง https://www.facebook.com/MusicCopyrightThailand/videos/638710844259414

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040