จะเลือกน้ำมันเครื่องยังไง ?รถถึงจะได้อยู่กับเราไปนานๆ

หนึ่งในค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถยนต์บ่อยที่สุดคือ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เพราะหากคุณใช้น้ำมันถึงระยะทางที่กำหนดคุณภาพจะเริ่มเสื่อม การหล่อลื่น หล่อเย็นภายในเครื่องแย่ลง เครื่องทำงานไม่ราบรื่น พังไวก่อนกำหนด เปลี่ยนหรือซ่อมก็ต้องกำเงินหมื่นไปอยู่ดี คำถามมักเกิดขึ้นในช่วงที่ต้องเลือก “น้ำมันเครื่องรุ่นไหนดี” กึกก้องมาในหัวใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นทาง Gossip Star จึงนำความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง 3 เรื่องพร้อมกับเทคนิคการเลือกใช้ น้ำมันเครื่อง  

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

1. น้ำมันเครื่อง มีทั้งหมด 3 ประเภท

 1.น้ำมันเครื่องทั่วไป สามารถใช้งานได้ประมาณ 5,000 – 8,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

2.น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ซึ่งมีคุณภาพสูงขึ้นมา มีอายุการใช้งานราว 8,000 – 10,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

3.สังเคราะห์แท้ 100% เป็นเกรดที่ดีที่สุด จะมีอายุการใช้งานได้สูงถึง 10,000 – 12,000 กิโลเมตร

2. ดูค่าของน้ำมันเครื่อง

จากรูปตัวอย่างจะเห็นค่า “SM 10W-30″ ซึ่งขอจำแนกดังนี้

SM” คือค่า API (American Petroleum Institute Standard) กำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันเครื่องแบบสากลทั่วโลก

มาตรฐาน API หากเป็นน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะขึ้นต้นด้วย “S” เช่น API SM หรือ API SL ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะขึ้นต้นด้วย “C” เช่น API CJ-4 หรือ API CI-4 โดยเช็กรายละเอียดได้ที่ www.api.org (ยิ่งปีเก่าเท่าไรมาตรฐานก็ต่ำลง)

API SN มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ให้มาตรฐานประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น ป้องกันเทอร์โบชาร์จเจอร์ เข้ากับระบบควบคุมการปล่อยไอเสีย และเครื่องยนต์ที่ทำเพื่อรองรับน้ำมัน E85 ประกาศใช้เดือนตุลาคม ในปี 2010

API SM ประกาศใช้เมื่อปี 2010

API SL ประกาศใช้เมื่อปี 2004

API SJ ประกาศใช้เมื่อปี 2001

CK-4 มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล ประกาศใช้เมื่อปี 2017

CJ-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2010

CI-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2002

CH-4 ประกาศใช้เมื่อปี 1998

“10W-30″ คือค่ามาตรฐานจาก SAE (The Society of Automotive Engineer) ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยค่าชุดเลขตัวแรก “10W” ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง ดังนี้

W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

10W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

15W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

20W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

ชุดเลขตัวที่สอง “30” บอกถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 โดยตัวเลขมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยมีความหนืดน้อยตามลำดับ โดยความหนืดของน้ำมันมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอได้มาก โดยความหนืดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 20-40

ทริคที่หลายคนเลือกเปลี่ยนน้ำมันเครื่องคงเป็นเรื่องค่าความหนืด เพราะอุณภูมิอากาศในไทยต่อให้ใช้ 20W ก็ยังไม่น่ากังวล เครื่องยนต์ใหม่ก็มักไปเริ่มกันที่ “40” และปรับให้หนืดขึ้นเมื่ออายุเครื่องยนต์เพิ่ม เพื่อให้เครื่องฟิตขึ้น..

3. ดูน้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ

น้ำมันเครื่องหลายชนิดในตอนนี้มีการบอกว่าเหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ตัวอย่างเช่น

For NGV, LPG & Gasoline – สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG

Heavy Duty – ใช้ได้ดีสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก

สรปุแล้วทั้ง 3 ข้อนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะชี้ไปว่าน้ำมันเครื่องแบบไหนเหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ เลือกใช้ได้แน่นอน ที่เหลือคงเป็นราคาจำหน่าย ยี่ห้อไหนก็ตามแต่ชอบกันเลยครับ

เทคนิคการเลือกใช้น้ำมันเครื่อง

1. สภาพการขับขี่และการใช้งานจริง การ เลือกน้ำมันเครื่องก็เหมือนกับการเลือกสรรของต่างๆที่เราจำเป็นต้องดูว่า อะไรเป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งสำหรับน้ำมันเครื่องคือการใช้งานจริงของเรา โดยเฉพาะเส้นทางการขับขี่ที่อาจจะเป็นทางไกลหรือในเมือง ล้วนมีความหมายทั้งสิ้น ที่อาจทำให้เราไม่จำเป้นต้องเสียเงินซื้อเพิ่มในสิ่งที่ไม่จำเป็น

2. ประเภทเครื่องยนต์ ในเรื่องของประเภทเครื่องยนต์ที่เรากล่าวถึงนี้ไม่ใช่เพียงแค่การแยกระหว่าง เครื่องยนต์เบนซิน หรือแก๊สโซลีน แต่หมายถึงลักษณ์เครื่องยนต์โดยทั่วไป เช่นรอบจัดหรือไม่ หรือมีอุปกรณ์พ่วงเช่นระบบอัดอากาศหรือไม่ เพราะส่วนต่างๆเหล่านี้ เป็นส่วนที่น้ำมันเครื่องจะเข้าไปมีบทบาทที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆมากขึ้น และการที่เรารู้จักลักษณะพื้นฐานของเครื่องยนต์จะทำให้เรารู้ถึงน้ำมัน เครื่องที่เหมาะสมได้

3. เข้าใจค่าความหนืด มีคนจำนวนมากของคนใช้รถไม่เข้าใจในค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง ซึ่งนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญ ที่นอกจากจะช่วยป้องกันการสึกหรอหล่อลื่นดี แต่ในยามคับขันที่สุดค่าความหนืดนี่แหละถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของคุณภาพ น้ำมันเครื่องยนต์ยี่ห้อนั้น ค่าความหนืดคืออะไร …ถ้าอธิบายง่ายๆค่าความหนืดคือดัชนีชี้วัดการหล่อลื่นและการทนความร้อนของ น้ำมันเครื่อง โดยมีหลักเกณฑ์ง่ายๆคือตัวเลขที่ข้างกระป๋อง อย่างเช่น 10W 30 ที่จะบอกถึงความลื่นของเนื้อน้ำมันสูงสุดและค่าความหนืดสูงสุดในภาวะที่ร้อน ที่สุด ที่หมายถึงเส้นบางๆระหว่างพังและไม่พังยามวิกฤติ หากคุณต้องการสมรรถนะการขับขี่มากก็ยิ่งต้องการน้ำมันที่ค่าความหนืดน้อยแต่ ก็ยังสามารถทนความร้อนได้สูง แต่กลับกันถ้าคุณใช้งานหนักเน้นการบรรทุกก็อาจต้องการน้ำมันเครื่องที่มีค่า ความหนืดสูง ที่จะมีอัตราการทนความร้อนสูงด้วย

4. ยี่ห้อไม่ใช่ตัวชี้วัดอย่าเข้าใจผิด มีคนจำนวนไม่น้อยที่ติดแบรนด์เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง ด้วยความเชื่อทางด้านแบรนด์เป็นสำคัญ แต่ความจริงแล้วแบรนด์สินค้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับคุณภาพแถมยังอาจสร้างความ เข้าใจผิดๆทางด้านคุณภาพ ดังนั้นหากต้องซื้อน้ำมันเครื่องเองให้มองถึงเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับน้ำมัน เช่น โมเลกุลพิเศษ ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ แล้วเปรียบเทียบกับราคาจำหน่ายที่ต้องเสียเงินไป

5. มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ดูให้ดีจำให้มั่นเพราะสำคัญมาก สิ่งที่สำคัญที่ที่สุดในเรื่องน้ำมันเครื่องนั้นนอกจากความหนืดแล้ว มาตรฐานการผลิตและคุณภาพของน้ำมันเครื่องยังถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหลายคนเลือกซื้อน้ำมันเครื่องโดยไม่ได้ดูว่า น้ำมันเครื่องนั้นๆ มีมาตรฐานตรงตามที่เครื่องยนต์ต้องการหรือไม่ ซึ่งข้อนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะรถใหม่ๆ เพราะหากคุณใช้น้ำมันเครื่องที่ผิดจากตามที่ผู้ผลิตกำหนดอาจหมายถึงการหมด การรับประกันของรถรุ่นนั้นๆ ก็เป็นไปได้ ดังนั้นควรศึกษาให้ดีโดยดูจากคู่มือรถยนต์ และเปรียบเทียบข้างกระป๋อง

6. น้ำมันเครื่องปลอม เรื่องนี้ต้องระวัง ในช่วงหลายปีทีผ่านมา เราได้ยินมามากเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องปลอม ซึ่งเราต้องระวังให้เป็นอย่างดี เพราะผลกระทบของน้ำมันปลอมนี้อาจทำให้เสียเงินหลายหมื่นหรือหลายแสนบาทได้ จากความมักง่ายของเราเอง การดูน้ำมันเครื่องปลอมนั้นไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก ที่ก่อนอื่นต้องมองที่บรรจุภัณฑ์ว่ามีความแตกต่างจากที่เราเคยใช้หรือไม่ (หากใช้น้ำมันยี่ห้อเดิมตลอด) หรือมีการชำรุดไม่บรรจุในหีบห่อหรือไม่ และเมื่อแกะออกมาน้ำมันเครื่องมีสีไม่ใสมาก หรือมีตะกอนปะปนรึเปล่า และที่สำคัญเมื่อใช้งานจริง หากได้ยินเสียงผิดปกติจากเครื่องยนต์เช่นเครื่องยนต์ดังผิดปกติให้สันนิษฐาน ว่า เจอน้ำมันเครื่องปลอม ให้รีบถ่ายออกทันทีเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

7. เครื่องเก่าน้ำมันเครื่องต้องเน้นหนืด หลายคนที่ใช้รถเก่ามักคิดว่าจะใช้น้ำมันเครื่องอะไรก็ได้ตามใจฉัน แต่ความจริงแล้วยิ่งเครื่องเก่าผ่านการใช้งานมาเยอะ โดยยังไม่มีการโอเวอร์ฮอลล์ใหม่นั้น สมควรที่จะใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูงเพื่อปกป้องชิ้นส่วนจากการทำ งานให้สูงที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยให้ยืดอายุเครื่องยนต์ได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เครื่องยนต์นั้นๆจะไม่พังหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040