หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สังกัดสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กำหนดบทบาทของตนเป็น change agent และเป็นผู้ริเริ่มแผนงานวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่” หรือที่เรียกโดยย่อว่า Local Enterprises (LEs) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ ผ่านการยกระดับสมรรถนะหรือพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถของการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการยกระดับรายได้และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (Fair Trade) สู่กลุ่มผู้ผลิตหรือกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำและคนในชุมชน เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน เกื้อกูล และโตไปด้วยกัน เพื่อนำเสนอแนวคิด กระบวนการ วิธีทำงานร่วมกัน กับผู้ประกอบการ กับภาคีวิจัย และกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเป็นโหนดความรู้กระจายในวงกว้าง จึงได้ร่วมกับสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชนจัดงาน เกื้อกูลLocal Enterprises Exposition 2023 หรือ เกื้อกูลLEs Exposition 2023 ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจชุมชน คน-ของ-ตลาด โมเดล กลไกสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2566 ณ ลานร่ำรวย ชั้น 5 เดอะ สตรีท รัชดาฯ โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมงานและกล่าวเปิดงานในวันแรก
ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. เปิดเผยว่า แผนงานวิจัย พัฒนา ธุรกิจชุมชนเกื้อกูลLocal Enterprises มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะหรือ ศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Entrepreneurs) มุ่งเน้นให้ใช้ทรัพยากรพื้นถิ่น (Local Resources) มาผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ และมุ่งเน้นให้มีการจ้างและสร้างงานในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น (Local Employment) เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ผ่านการใช้ข้อมูล (Data-driven Super APP) แนวคิด (คน-ของ-ตลาด โมเดล) 3 กระบวนการ และ 2 เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน ผลักดัน พัฒนา จนสามารถขยายผล ออกแบบและสร้างกระบวนการหนุนเสริมการพัฒนาธุรกิจชุมชน เกื้อกูลLEs และสามารถสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาการเงิน ปัญหาธุรกิจของผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย เกื้อกูลLEs ทำให้ส่งผลต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ทั้งในด้านทรัพยากร แรงงาน และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
การจัดงานครั้งนี้เป็นการนำเสนอกลไกการพัฒนาธุรกิจชุมชนร่วมกับผู้ประกอบการ ร่วมกับภาคีอาจารย์นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนงานวิจัย และนำเสนอ กระบวนการเครื่องมือการทำงานเรื่อง เกื้อกูลLocal Enterprises ของหน่วย บพท. ให้เกิดการตระหนักรู้ เข้าใจ เข้าถึง ในกลุ่ม สื่อมวลชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ทั้งยังป็นการสร้างโอกาสในการสื่อสารสู่หน่วยงานภาคนโยบาย และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ ที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำโครงสร้างพื้นฐานด้านความรู้ระดับพื้นที่ (Knowledge Infrastructure) ที่เชื่อมโยงการสร้างเคิร์ฟแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve) จากผลลัพธ์ของแผนงานวิจัยเกื้อกูลLocal Enterprises ไปขยายผลสู่การสร้างองค์ความรู้ร่วมกับวิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยมี ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานในภาพรวม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อน วิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประสิทธิผลกับเศรษฐกิจชุมชนให้มั่งคั่งอย่างยั่งยืน
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถานธัชภูมิ กล่าวเสริมว่า วิทยสถานธัชภูมิตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานที่ต้องการสร้าง และยืนยันความเชื่อที่ว่า จุดแข็งของประเทศไทยอยู่ที่พื้นที่ เพราะคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่า พื้นที่คือคำตอบสำคัญ คือทางออกในเรื่องการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจชุมชนของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ว่าด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยวิทยสถานธัชภูมิมีพันธกิจครอบคลุม 5 มิติที่มีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาประเทศ ผ่านสถาบันความรู้ 5 สถาบัน ได้แก่ สถาบันความรู้เพื่อจัดการทุนทางวัฒนธรรม สถาบันความรู้เพื่อสร้างโอกาสทางสังคม สถาบันความรู้เพื่อการพัฒนาเมือง สถาบันความรู้เพื่อเสริมพลังท้องถิ่น และสถาบันความรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
วิทยสถานธัชภูมิ จะมุ่งเน้นการพัฒนาชุดความรู้เพื่อการพัฒนาและการสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน และสามารถส่งมอบองค์ความรู้สู่ระดับสากลได้ ผ่านระบบจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่จากแผนงานวิจัย เกื้อกูลLocal Enterprises ที่ผ่านการยกระดับความรู้เชิงแนวคิด กระบวนการ และเครื่องมือ ที่สังเคราะห์อออกมาเป็นหลักสูตรการพัฒนาและผลักดันจนเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ผ่านการทำงานกับ “สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน” จนกลายเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาที่เพิ่มความสามารถการประกอบการของธุรกิจชุมชนให้เกิดขึ้นจริงได้ และนำไปสู่การสร้างผลสัมฤทธิ์ทั้งมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจในพื้นที่ของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย เกื้อกูลLocal Enterprises กล่าวเน้นย้ำว่า ความทรงพลังของหลักคิดและแก่นแนวของ เกื้อกูลLocal Enterprises คือ “คน-ของ-ตลาด โมเดล” เป็นกระบวนการคิดแบบพัฒนาธุรกิจ (คน) Business Development มิใช่ Product Development โดยเน้นการพัฒนาคน(ธุรกิจ) ด้วยการฝึกให้ผู้ประกอบการในพื้นที่วินิจฉัยสุขภาพของธุรกิจ และสุขภาพการเงินของตน และใช้ข้อมูลฝั่งอุปสงค์ (demand) หรือ ตลาด มาออกแบบการบริหารจัดการธุรกิจของตน เจาะลึกข้อมูลตลาด เพื่อเห็นโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจ แล้วค้นหาเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ของตน knowledge gap เพื่อช่วยให้สามารถสร้างของที่พัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของกลุ่มผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจได้สำเร็จอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า แผนงานวิจัย เกื้อกูลLocal Enterprises สามารถยกระดับขีดความสำเร็จของธุรกิจชุมชน โดยได้สร้างและพัฒนากลไกการยกระดับธุรกิจชุมชนทั้งรูปแบบการทำงานโดยตรงกับธุรกิจชุมชน และผ่านการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย และนักวิจัยในพื้นที่ (Local Knowledge Manager) รวมทั้งสิ้นกว่า 3,023 ธุรกิจชุมชน ก่อเกิดรายได้รวมของธุรกิจชุมชนที่ผ่านกระบวนการสร้างการเรียนรู้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 140% มีรายจ่ายที่เป็นการซื้อวัตถุดิบในพื้นที่เพิ่มขึ้นถึง 700% มีการจ้างงานคนในพื้นที่เพิ่มขึ้น 100% และมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในพื้นที่สูงขึ้นถึง 57% ต่อเดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ไปสู่การทำงานจริงผ่าน 3 กระบวนการที่ออกแบบมาสำหรับเกื้อกูลLEs ได้แก่ 1. การรอบรู้เพื่อตื่นรู้ 2. การเปลี่ยนสัมมาชีพสู่มืออาชีพ 3. การสร้างธรรมมาชีพจากเครือข่ายธุรกิจร่วม และผ่าน 2 เครื่องมือสร้างการเรียนรู้ (Learning Platform) ในรูปแบบ Gamification ที่ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อกลุ่ม เกื้อกูลLEs อาทิ 1. การเงินเศรษฐี 2. การตลาดฟาดมโน 3. การสร้างมูลค่าจากห่วงโซ่คุณค่า 4. อยากผิดชีวิตบรรลัย (อุปสงค์ อุปทานการผลิต) เป็นต้น และเครื่องมือเหล่านี้สามารถช่วยยกระดับความสามารถการประกอบการของธุรกิจชุมชน เกื้อกูลLEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
และเพื่อการขยายผลทั้งในมิติเชิงความคิดและมิติเชิงปริมาณในปีงบประมาณ 2566 นี้ แผนงานวิจัย เกื้อกูลLocal Enterprises ได้เดินหน้าและยกระดับการทำงานรูปแบบใหม่ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การเดินหน้าด้วยสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนที่สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจชุมชนและผู้ประกอบการ เกื้อกูลLocal Enterprises ทั่วประเทศไทย ด้วยการสร้างองค์ความรู้ว่าด้วยการสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชนที่ตอบสมัยและตรงกาล รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดโดยการบ่มเพาะ (Incubator) และเสริมพลัง (Empowerment) ธุรกิจชุมชนจากโครงการธุรกิจปันกันในรูปแบบเดี่ยวไปสู่กลุ่มและเครือข่าย รวมทั้งการสร้างกลุ่มและเครือข่ายของประชาคมวิจัย ทั้งในรูปแบบนักวิจัยอิสระและมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนความมั่งคั่งที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจของพื้นที่ และ รูปแบบที่ 2 การเดินหน้าสร้างเครื่องมือที่ทรงพลัง คือ เกื้อกูลLEs Super APP: Data Driven Strategy Application กลยุทธ์การใช้ดาต้า ข้อมูลเป็นตัวนำความสำเร็จ ผ่านการเก็บข้อมูลของผู้ประกอบการ เกื้อกูลLEs ที่ลงทะเบียนทั่วประเทศเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทางการเงินใหม่ที่ชื่อว่า “เกื้อกูลLEs Super APP” ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลธุรกิจชุมชนขนาดใหญ่ระดับประเทศที่มีทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจชุมชน อาทิ การเงิน การตลาด การจ้างงาน และข้อมูลกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจที่ลงทะเบียนร่วมเป็น เกื้อกูลLEs ซึ่งข้อมูล หรือ ดาต้าขนาดใหญ่เหล่านี้จะถูกนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ State of Development for Thai Local Enterprises ของประเทศไทยต่อไปอย่างแน่นอน
ดร. สุทัศน์ รงรอง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดูอินไทย จำกัด นวัตกรทางสังคมผู้ออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม เกื้อกูลLEs Super APP สำหรับผู้ประกอบการ เกื้อกูลLocal Enterprises ประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดการข้อมูลดิจิทัลเพื่อสร้างการพัฒนาระดับพื้นที่ (Area-based Development) เป็นกระบวนการที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาสที่จะต่อยอดและพัฒนาทุนทรัพยากรในพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องต่อความต้องการจากบริบทสังคม โดยใช้ข้อมูลดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน (Driver) ให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจชุมชน และเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าในระดับพื้นที่ได้ จนเกิดประสิทธิภาพในการนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจชุมชนที่สร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชนตลอดไป
แพลตฟอร์ม เกื้อกูลLEs Super APP เปรียบเสมือนคลังของเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อเรียนรู้ในการจัดการ การพัฒนาธุรกิจชุมชน และเพื่อเป็นอาวุธทางข้อมูล (Deep Local Enterprises Data) ที่จะนำไปสู่การสังเคราะห์ State of Development for Thai Local Enterprises ที่สามารถบ่งชี้นัยยะอาการของธุรกิจชุมชนที่เกี่ยวพันกับอาการทางเศรษฐกิจของชุมชนนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรพื้นที่ การสร้างและการจ้างงานในพื้นที่ รวมทั้งการหาตลาด ทั้งในและนอกพื้นที่ ข้อมูลนี้นับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถวัดการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจชุมชน (ผลประกอบการ ผลกำไร การจับจ่าย-ใช้สอยในพื้นที่ กิจการใหม่ที่ต้องลงทุน การจ้างงานในพื้นที่) และกิจกรรมทางสังคมชุมชน (การสร้างเครือข่าย การแบ่งปัน การมี inclusive mindset แบบโตไปด้วยกัน) อันเกิดจากวิถีการประกอบการของธุรกิจชุมชน ภายใต้กรอบ เกื้อกูลLEs คน-ของ-ตลาด โมเดลที่โตไปด้วยกัน
โดยเครื่องมือที่สร้างการเรียนรู้เพื่อจัดการธุรกิจชุมชนต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บน เกื้อกูลLEs Super APP ได้ถูกออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่ายสะดวก ประมวลผลอย่างรวดเร็ว วิเคราะห์ปัญหา หาคำตอบได้ทันท่วงที และสามารถขยายผลได้ในวงกว้าง เป็นระบบที่สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูลของธุรกิจชุมชนอย่างสูง ว่าจะถูกใช้เพื่อสังเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในอนาคต โดยมี หน่วย บพท. และสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชนเป็นผู้ดูแล วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างใกล้ชิด
ซึ่งทางทีมได้มีการวางแผนที่จะนำ เกื้อกูลLEs Super APP ไปขยายผลกับหน่วยงานภาคเอกชนประเภทธนาคาร (Bank Agent) ผ่านการอบรมและถ่ายทอดชุดความรู้ด้านการเงิน เพื่อให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนที่เป็นลูกค้าและหรือลูกหนี้ของธนาคารทั้งในปัจจุบันและอนาคต ให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน สามารถวางกลยุทธ์การบริหารเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องของธุรกิจตน ผ่านสมุดพกการเงินครัวเรือน สมุดพกการเงินธุรกิจ สมุดพกการลงทุน ฯลฯ ทั้งยังเป็นการสร้างและปลูกฝังกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินธุรกิจภายใต้การใช้ข้อมูล หรือ ดาต้า กับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนของประเทศไทยได้เกิดผลที่มั่งคั่งอย่างสำเร็จ อย่างเกื้อกูล และอย่างยั่งยืน
มหกรรม เกื้อกูลLocal Enterprises Exposition 2023: “ธุรกิจชุมชน คน-ของ-ตลาด โมเดล” กลไกสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชนนี้ นับเป็นการเดินหน้าครั้งสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการชุมชน เกื้อกูลLEs ที่จะทำให้ท่านได้ตื่นตา ตื่นใจ และตระหนักรู้ไปกับ 1 แนวคิด 3 กระบวนการ และ 2 เครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนความคิดและวิถีการทำงานของทุกคนผ่านผลลัพธ์ที่ชัดเจนจากธุรกิจชุมชน เกื้อกูลLEs และเครือข่ายนักวิจัยทั่วประเทศ
โดยในงานจะมีบริเวณเวที เกื้อกูลLEX…ที่ยิ่งใหญ่ด้วยเป้าหมายแห่งความสำเร็จอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการชุมชน เกื้อกูลLEs และเกื้อกูล Local Knowledge Manager จากทั่วประเทศ
และในงานจะได้พบกับ…
เกื้อกูลLEs Stage ไขกุญแจความสำเร็จของกลไกสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่มั่งคั่งและยั่งยืน
เกื้อกูลLEs Market ตลาดชุมชนพร้อมผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมทั้งคุณภาพ และ คุณค่า จากทั่วประเทศ
เกื้อกูลLEs Exposition งานเทศกาลถอดรหัสตัวเลขมหัศจรรย์ที่จะทำให้ชีวิตชุมชนประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจเข้าร่วมโครงการ ‘เกื้อกูลLocal Enterprises’ ได้ที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โทรศัพท์ 0 2109 5432 ต่อ บพท. หรือ เว็บไซต์ : https://www.nxpo.or.th/A/