นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลท์ที่สำคัญของงาน “Bangkok International Digital Content Festival 2022” หรือ “BIDC 2022”เทศกาลดิจิทัลคอนเทนต์ที่ยิ่งใหญ่แห่งปี โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ แม่ทัพใหญ่ของการจัดงาน ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ TCEB , depa และ CEA อีกทั้ง 5 สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย TGA, BASA, DCAT, e-LAT และ TACGA ที่ชวนกันมาร่วมสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ กับ “BIDC 2022 Webinar” โดยเหล่าวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านดิจิทัลคอนเทนต์ทั้งไทยและต่างชาติเกือบ 30 ท่าน
แน่นอนว่า หนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจที่สุดของปีนี้หลีกไม่พ้นโลกแห่ง NFT หรือ Non-Fungible Token กับหัวข้อ “Marketing NFT on Global Platform” ที่หากพูดถึงการลงทุนในยุคดิจิทัลหนึ่งในตลาดการลงทุน สำคัญและกำลังมาแรงในเวลานี้ นั่นคือ “ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล” ที่ประกอบไปด้วย งานศิลปะ เพลง ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ หรือแม้แต่ที่ดินในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงสินค้าและบริการบนโลกอินเตอร์เน็ต
จะว่าไปแล้วการลงทุนบนแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง NFT แม้จะดูไม่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน ดังนั้นการเรียนรู้ถึงหลักการการทำตลาด NFT จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่ใช่น้อย เพื่อลดความเสี่ยง และข้อผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นกับการลงทุนในตลาดแห่งนี้ Webinar ในครั้งนี้ จึงเชิญ The Duang (เดอะดวง) หรือ “วีระชัย ดวงพลา” และ Pom 3Landers หรือ “ปอม-สุวรรณวิชัย เสียงสุวรรณ” มาบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเอง เกี่ยวกับตลาด NFT ตั้งแต่วันแรก จนถึงวันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญแห่งวงการ NFT อย่างทุกวันนี้
ศิลปินสัญชาติไทย กับก้าวย่างสู่ “กูรู” นัมเบอร์วัน NFT
ปอม-สุวรรณวิชัย เสียงสุวรรณ ศิลปินสัญชาติไทยที่ไปโด่งดังในประเทศญี่ปุ่น กับผลงานที่มี Volume Trade มากกว่า 3 พันล้าน เล่าถึงจุดเริ่มต้นของเขา ก่อนจะเข้ามาอยู่ในตลาด NFT อย่างวันนี้ว่าก่อนหน้านี้ เขาได้ค้นหาข้อมูลและศึกษาตลาดเพื่อทำความรู้จักกับตลาด NFT เพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น “พอเริ่มศึกษามากขึ้น ก็เห็นว่า การทำ NFT มีหลายรูปแบบ จากนั้นก็เริ่มลองเข้าซื้อใน OpenSea ที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดใน NFT พอซื้อ ขายสักพัก ผมก็รู้สึกอยากลองทำเหมือนกัน แบบทำเป็นคอลเลคชั่น เพราะก่อนหน้านี้ ผมก็เลยทำสติกเกอร์ไลน์ และสติกเกอร์จริงขาย เลยรู้สึกว่าอะไรที่เป็นของสะสมน่าสนุกดีกับงานเรา ทำงานด้วยสารตั้งต้นเดียว คือความสนุก” ขณะเดียวกัน ศิลปินชื่อดังยังยอมรับว่าได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า คอมมูนิตี้ ซึ่งทำให้เขาเกิดแรงผลักดัน จนสามารถ ต่อยอดผลงานมาถึง โปรเจค 3Landers ที่สร้างชื่อให้คนรู้จักเขามากขึ้น
มองตลาด NFT ต่างจากโลกจริง
วีระชัย ดวงพลา นักวาดการ์ตูนระดับโลก รางวัลรองชนะเลิศจากเวทีประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ ครั้งที่ 4 ที่ประเทศญี่ปุ่น (ปี 2554) ก็เล่าในมุมของเขาเช่นกันว่า “ครั้งแรกเลยเข้าใจว่า ตลาด NFT ไม่น่าจะต่าง อะไรไปจากการเป็นแพลตฟอร์ม Photo Stock เป็นสิ่งที่ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรกับแพลตฟอร์มแห่งนี้ แต่พอผม เข้าไปทดลองซื้อขายใน OpenSea ที่เริ่มด้วยโปรเจค Chocolate ซึ่งพอเอางานลงไปก็ขายได้เลย แต่ตอนนั้น ขายได้แค่ครึ่งๆ กลางๆ ประมาณ 2-3 ชิ้นเท่านั้น”
“นั่นทำให้ผมรู้สึกว่า แตกต่างไปจากโลกจริงอยู่มาก เพราะในโลกจริง หลายคนรู้จักผม เวลาที่เราทำ หนังสือขึ้นมาสักเล่ม ก็สามารถขายได้เลย แต่พอมาอยู่ในโลก NFT เรากลับกลายเป็นใครก็ไม่รู้ โลก NFT เป็นโลก ที่กว้างมากจนเรารู้สึกเหมือนตัวของเราเล็กนิดเดียว” ทำให้จากเดิมที่คิดว่า จะวาดรูปตามกระแส แล้วให้ขายได้ แค่นั้นพอ กลายเป็นว่าสุดท้ายแล้ว เขาต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานของตัวเองในรูปแบบใหม่ “พอย้อนกลับ ไปดูงานเก่าๆ แล้วดูว่างานชิ้นไหนเหมาะกับตัวผมมากที่สุด ปรากฏว่าตัวละครการ์ตูนที่ดูแบดๆ หรือเป็นแก๊งค์ น่าจะเหมาะที่สุด ผมก็เลยเริ่มต้นสร้างโปรเจคแก๊งส์เตอร์ ขึ้นมาทั้งหมด 64 ไอเท็ม ซึ่งถึงวันนี้ ไม่ว่าจะออกมากี่แบบ ก็สามารถขายได้หมดทุกแบบจริงๆ และทำให้ผมมั่นใจว่า ผมเดินมาถูกทางแล้ว”
วิธีสร้างสเกลโปรโจคให้ใหญ่ขึ้น
จะทำอย่างไรให้สเกลของโปรเจคที่ทำอยู่ใหญ่ขึ้น เรียกว่า เป็นอีกโจทย์ใหญ่ที่ 2 ศิลปินสายเลือดไทย ที่ผันตัวเองเข้าสู่ตลาด NFT ต้องไปทำการบ้านอย่างหนักเหมือนกัน “ผมสังเกตเห็นตั้งแต่แรกที่เข้ามาใน OpenSea แล้วว่า มีคอลเลคชั่นมากมาย แต่ช่วงแรกผมก็พยายามเรียนรู้ระบบก่อนว่า มีอะไรบ้างที่นอกเหนือจากการ ขายสินค้าเพราะส่วนหนึ่งผมไม่อยากเพิ่มซัพพลายให้เยอะเกินไป” ปอม เล่าด้วยว่า แม้เขาจะมีแผนขยายสเกล โปรเจคของตัวเอง แต่ด้วยความที่ตัวเองยังใหม่ในวงการเลยต้องคิดอย่างรอบคอบในหลายๆเรื่อง “เราไม่รู้วิธี การขายหรือมาร์เก็ตติงมาก่อน เราเลยทำงานในสเกลที่เราทำตัวคนเดียวก่อน แต่พอถึงวันที่ผมพร้อมขยายสเกล จริงๆ ก็ต้องมองหาพาร์ทเนอร์ที่เข้ามาช่วยเรา เพราะเรารู้แล้วว่าเราทำคนเดียวไม่ได้แน่นอน จากนั้นผมก็เริ่มฟอร์ม ทีมทำงาน จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้”
เช่นเดียวกับ เดอะดวง ที่รอจังหวะ และเวลาในการขยายสเกลโปรเจค “ตั้งแต่คอลเลคชั่นแรกๆ แล้ว ก็มีคนติดต่อเข้ามาอยากให้เราร่วมทีมโปรเจคกันซึ่งผมเองตอนนั้นก็สนใจครับ แต่ผมมองว่ายังไม่ใช่เวลาสำหรับผม เพราะผมอยากปั้นสตอรี่ของผมให้แข็งแรงมากกว่านี้ก่อน เพราะการก้าวกระโดดที่เร็วเกินไปอาจส่งผลเสียได้ ทำให้ตอนนั้นต้องปฏิเสธไปก่อน”
แต่ด้วยความฝันในการทำงานโปรเจคที่ใหญ่ขึ้น ยังคงมีอยู่ในความคิดของเดอะดวง “ผมใช้เวลาหลังจาก จบคอลเลคชั่นแรกประมาณ 2 เดือน ในการสร้างสตอรี่ให้กับตัวละครแต่ละตัว โดยมีความพิเศษอยู่ที่ หากใครสนใจ ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกแก๊งสเตอร์ได้เลย แล้วผมจะวาดหน้าของคนๆนั้น ให้เป็นหนึ่งในสมาชิกแก๊งค์ พอทำ จุดนี้ไปได้ระยะหนึ่ง ก็มีคนติดต่อเข้ามาเพื่อร่วมงานกันอีกครั้ง” เรียกว่า หลังจากที่ได้เข้ามาทำงานกันแบบทีม เดอะดวงยอมรับว่าแทบไม่มีเวลาพักผ่อนเลย โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานกับโปรเจคเจนเนอเรทีฟ “มีแรงกดดัน มหาศาลที่ผมต้องแบกรับความคาดหวังอยู่หลายอย่าง และเพิ่งรู้ว่างานแบบนี้ต้องใช้ทีมงานช่วย เพราะการทำงาน แบบนี้คนเดียวเอาไม่อยู่แน่นอน”
“เหนื่อยมากครับ” เสียงตอกย้ำของ ปอม ทำให้รู้ว่า การทำงานในโปรเจคที่ใหญ่ขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย “ตอนที่เราพยายามทำงาน ก็จะมีอะไรหลายๆอย่างเข้ามา ซึ่งผมก็รู้ตัวดีว่าเป็นคนที่สื่อสารอะไรไม่ค่อยดีต้อง พยายามปรับตัวเองและสถานการณ์ที่เข้ามา ตรงนี้ทำให้เราไม่อยากทำอะไรเล่นๆอีกแล้ว ผมก็จะทำไปเรียนรู้ สิ่งที่ทำไปพร้อมกัน บอกเลยว่าเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ผมรู้ว่า ผมสามารถทำงานได้เกินศักยภาพที่ตัวเองมีและผมก็ ต้องเรียนรู้อะไรอีกหลายอย่างมากขึ้นด้วย”
ทำอย่างไรให้คอมมูนิตี้ น่าสนใจ
จากประสบการณ์ของสองศิลปินที่ได้จากการลงมือทำจริง ก็ยังได้แนะนำถึงเทคนิคการสร้างคอมมูนิตี้ให้มี คนเข้ามารวมกันเยอะอีกด้วย ซึ่ง “ปอม” บอกว่า การเชื่อมต่อกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นสิ่งสำคัญ “ผมอยากขอบคุณเทคโนโลยีการสื่อสารในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะโปรแกรมดิสคอร์ด และ ทวิตเตอร์ ที่เป็น ช่องทางการสื่อสารที่ทำให้ผมสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ทำให้เราได้พบกับคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน แล้วคุย ในเรื่องเดียวกัน ถือเป็นหัวใจที่จะมาช่วยขับเคลื่อนโปรเจคที่ทำอยู่เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันเราเองก็ต้องรักษา คนกลุ่มนั้นเอาไว้ให้ได้ โดยส่วนตัวแล้วผมว่าไม่มีหลักสูตรอะไรหรือวิธีการอะไรที่เป็นรูปธรรมนัก ผมว่าทั้งหมดอยู่ที่ ตัวของเราเองมากกว่าเพราะเราสามารถเลือกที่จะเจอคนแบบไหน หรือรับคนแบบไหนเข้ากลุ่มก็ได้ เรียกว่าอิสระ มาก ๆ ส่วนในเรื่องของการทำงาน ผมรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ใหม่และมีอะไรสนุกๆ ให้ทำอีกมากด้วย”
ขณะที่ เดอะดวง ยอมรับว่า สิ่งที่เขาทำอยู่ทุกวันนี้ เกินกว่าที่เขาฝันไว้จริงๆ “ไปไกลมากกว่าที่ผมคิดไว้มาก แต่ก่อนผมไม่เคยรู้จักดิสคอร์ดเลย แต่พอมารู้ระบบจริงๆต้องบอกว่าน่าทึ่งมากเพราะสามารถทำอะไรได้มากมาย หลายอย่าง แล้วแต่ว่าเราจะดีไซน์ให้เป็นแบบไหน ส่วนเรื่องแผนการทำงานต้องยกให้ทีมงานที่เชี่ยวชาญเป็นคน ดูแล ทั้งเรื่องของการตลาดรายวัน จิตวิทยาคน ตรงนี้ต้องให้คนที่ถนัดเขามาดูแล เขาจะมีลูกเล่นและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้คนเข้ามาสนใจโปรเจคของเรามากที่สุด คนที่เข้ามาก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยว่ามีความรักในคอลเลคชั่น ของเรามากแค่ไหน”
กิจกรรมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เดอะดวงยอมรับว่าเป็นสิ่งที่จะข่วยดึงดูดคนที่รักและชอบในสิ่งเดียวกัน เข้ามาอยู่รวมกันเป็นคอมมูนิตี้ “ทีมของผมจะดูอยู่ตลอด ว่ามีใครเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับโปรเจคของเราบ้าง แล้ว เขาก็จะโยนชิฟสีขาวให้ด้วยตัวเอง ตรงนี้ค่อนข้างเรียลมากจริงๆ
คือนี่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างไวรัลให้เกิดขึ้น พร้อมๆ การสร้างมูลค่าให้กับโปรเจคที่เราทำด้วย”
“ผมชอบตรงที่ ทุกคนไม่มีใครมาถามเลยว่า งานจะเสร็จเมื่อไร แต่ทุกคนสนุกกับคอมมูนิตี้ เหมือนอยู่ ที่บ้าน ได้พักผ่อน ได้ร้องเพลง หรือ ดูหนังด้วยกัน นี่เป็นการทำคอมมูนิตี้ ที่ทำให้คนรู้สึกผ่อนคลายอย่างหนึ่ง” เดอะดวงย้ำ เทคนิคการสร้างคอมมูนิตี้ให้กับโปรเจคที่ทำ
เป้าหมายโปรเจคในอนาคต
การวางเป้าหมายให้กับโปรเจคของทั้งสองศิลปิน เป็นอีกสิ่งที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการทำตลาด NFT ซึ่ง ปอม 3Landers เล่าถึงแพสชั่นของตัวเองในการทำงานแต่ละโปรเจ็คต์ว่า เขาอยากทำโปรเจคไปเรื่อยๆ อยากให้เป็นเหมือนการผจญภัยจริงๆในแบบ Episode “ผมไม่อยากให้คำสัญญาว่าจะทำไปถึงเมื่อไร แต่ผมไม่เคย หยุดทำงานและยังคงทำไปเรื่อยๆ โดยให้เป็นซีซั่น ถ้าจะต้องจบซีซั่น ก็ต้องจบให้ดีที่สุด เช่นผมอาจจะสร้างโปรเจค ขึ้นมา 1 ซีซั่น แล้วหลังจากจบก็อาจจะไปทำอาร์ตด้านอื่น ทั้งการทำแบรนด์ การทำแฟชั่น หรือไปร่วมมือกับใคร ก็ตาม เหมือนเป็นสนามเด็กเล่นที่ผมเฝ้ารอมาตลอด และมีพื้นที่ที่เป็นตัวเอง มีคนชื่นชอบและสนุกไปกับเรา ซึ่งหลังจากนี้ อาจจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเจ๋งกว่าคนอื่น แต่เราแค่รู้สึกอยากทำมาตรฐานใหม่ให้ตัวเอง ไปเรื่อยๆ เหมือนเด็กผู้ชายผจญภัยที่บอกไม่ได้ว่าข้างหน้าจะมีอะไร แต่เราพร้อมจะผจญภัยไปพร้อมกับทุกคน”
“เป้าหมายหลักของ คอลเล็คชั่น นอกจากการสร้างแบรนด์แล้ว ยังมีอะไรอีกหลายอย่าง” เป็นสิ่งที่ เดอะดวงบอกให้ฟัง “แต่สิ่งเดียวที่สามารถบอกได้ตอนนี้ และไม่เกินจริงก็คือการทำ Comic ให้ทุกคนได้อ่าน ในอดีตที่ทำมาทำให้คนหลายคนรู้จักผมมากขึ้น และรู้ว่าผมเคยทำ Comic มาจริงๆ ทำให้เกิดความเชื่อใจ กันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เป็นความท้าทายกับผมมากทีเดียว และ แก็งส์เตอร์ออลสตาร์ ก็เป็นสิ่งที่ออกมาจาก ประสบการณ์ที่เราสะสมมาทั้งหมด โปรเจค Comic ค่อนข้างใหญ่ และเชื่อว่าจะทำให้คอมมูนิตี้รันไปได้นาน หลายปีมากๆ ซึ่งแต่ละคนที่อ่านก็จะลุ้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือมีอะไรเซอร์ไพรส์คนอ่านได้ ตรงนี้ผมคิดไว้ คร่าวๆ หมดแล้ว ซึ่งแค่คิดก็สนุกแล้วสำหรับผม”
เคล็ดลับการเข้าสู่ตลาด NFT
เดอะดวง ซึ่งมีนิยามของตัวเองว่างานทุกชิ้นคือประสบการณ์ทั้งชีวิต ยังแนะเคล็ดลับให้กับคนที่สนใจ อยากจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ตลาด NFT ว่า อันดับแรกเลย คนๆ นั้นจะต้องรู้ตัวเองก่อนว่าชอบอะไร “หากเรา เป็นคนชอบเรื่องของกอล์ฟ แต่พอดูแล้วน่าจะเป็นอะไรที่ขายยากพอสมควร แต่ว่าเราอินมากและอยากขายของ สิ่งนั้นจริงๆ ก็ต้องมองหาวิธีการที่จะทำให้คนอยากซื้อ อยากได้ โดยไม่เกี่ยวว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร แต่ถ้าเราทำ ออกมาด้วยแพสชั่นที่แรงกล้าจริงๆ และบวกกับการตลาดที่ค่อนข้างดี เราก็ต้องพยายามดันแพสชั่นในตัวของเรา ออกมาให้ได้มากที่สุด” ซึ่งเดอะดวง ย้ำว่านั่นเป็นสิ่งที่สำคัญของการทำงานในตลาด NFT “การทำงานเราไม่ควร เริ่มด้วยการเอาคาแรคเตอร์อื่นมาเป็นของตัวเอง แต่ขอให้เริ่มด้วยการเอาความเป็นตัวของเรามาใช้ตั้งแต่ครั้งแรก แล้วดันสิ่งนั้นออกมาให้คนเห็นบ่อยๆ เห็นเรื่อยๆ แล้วนั่นก็จะทำให้คนที่เข้ามาดูงานรู้ว่า เราตั้งใจทำสิ่งนั้นจริงๆ แม้บางครั้งจะไม่ประสบความสำเร็จมาก แต่ก็เป็นการตอบสนองความต้องการในใจของเราได้ ซึ่งผมว่าวิธีการสร้าง ความสำเร็จอะไรก็แล้วแต่นั้น ไม่ได้มีสูตรตายตัวว่าสิ่งที่คุณทำจะประสบความสำเร็จไปทั้งหมด แค่ควรเริ่มจาก ความชอบของตัวเองอันดับแรกก่อน แล้วความสำเร็จก็จะตามมาเอง”
เช่นเดียวกับ ปอม 3Landers ที่มักจะนำเสนองานของตัวเองในแนวผจญภัย และความสนุก ที่ย้ำชัดว่า “ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในตลาด NFT จำเป็นต้องศึกษา และรู้ข้อมูลพื้นฐานของตลาดนี้ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งเรื่องคริปโต ไปจนถึงระบบการเก็บเงินในกระเป๋าต่างๆ จากนั้นเราก็ต้องมาดูว่าเราจะขายอะไร ซึ่งของที่เราจะขายนั้นจะต้อง เลือกสิ่งที่เป็นตัวเองให้มากที่สุด ต้องพยายามนำเสนอตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็นและตัวเองเชื่อ”
ความสม่ำเสมอในการทำงานเป็นอีกสิ่งที่ปอมแนะเป็นเคล็ดลับ“เราต้องใช้เอนเนอร์จีของตัวเองออกมาใช้ ในการทำงานต้องให้เวลากับงานที่ทำงานทุกชิ้นไม่ใช่งานมาสเตอร์พีซ เราต้องพยายามหมั่นฝึกซ้อมและฝึกฝน อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ก็ต้องรู้สึกสนุกกับตัวเองด้วย และบอกตัวเองเสมอว่าเรากำลังจะสร้าง ของดีๆ ออกมาให้คนเห็น ผมเชื่อว่า งานทุกชิ้นจะมีเนื้อคู่ของตัวเอง ซึ่งวันหนึ่งงานที่เราสร้างขึ้น ก็จะพบกับเนื้อคู่ และคนที่เหมาะสมจริงๆ”
ตลาด NFT แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยาก หากใครมีความตั้งใจจริง และเชื่อว่าหากใคร ที่นำเสนองานที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่แน่ว่าคนนั้น อาจจะประสบความสำเร็จในตลาดแห่งนี้ก็ได้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ย้อนหลังของ The Duang (เดอะดวง) และ Pom 3Landers รวมทั้งเหล่ากูรูด้านดิจิทัลคอนเทนต์ใน BIDC 2022 Webinar ทั้ง 19 หัวข้อที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับเหล่าพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน จัดขึ้นในงาน BIDC 2022 ได้ทาง www.facebook/bidc.fest