เนื่องจากปัจจุบันปัญหาเศรษฐกิจอันเกิดจาก ระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่มีมาต่อเนื่องกันหลายปีทำขาดรายได้ที่จะเข้าประเทศจากการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน หนึ่งในทางออกที่จะช่วยให้มีรายได้และศักยภาพที่พร้อมเพียงแต่รอการลุกขึ้นมาร่วมกันทำงานอย่างจริงจังนั้นคือการที่จะทำให้ วาระแห่งชาติที่ว่าเรื่อง Thailand medical hub เป็นจริงขึ้นมาสักที แพทยสภาได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสร้างมาตราฐาน ยกระดับความรู้และจริยธรรม ของแพทย์ไทยให้ดีขึ้น แต่ยังคงมีอุปสรรค์ที่เกิดจาก การตลาดและประชาสัมพันธ์ที่ทำอย่างจริงจังของต่างประเทศทำให้เกิดค่านิยม และค่าตอบแทนที่สูงมากๆส่งมาถึงคนไทยบางกลุ่มที่กลายเป็นเครื่องมือในการด้อยค่า ความสามารถแพทย์ไทย และนำเงินส่งออกไปเข้าประเทศต้นทางนั้นอีกด้วย
นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ตำแหน่งอดีตเลขาธิการแพทยสภา และประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ แพทย์ไทยที่คิดค้น ซิลิโคนทำจมูก ที่หลายๆคนรู้จักในนามว่า ซิลิโคนแมนทิส (Mantis) หรือซิลิโคนทรงตั๊กแตน นวัตกรรมไทยอย่างเดียวที่ได้จดสิทธิบัตรกับ Patent &Trademark Office (PTO) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก มาให้ข้อมูลเรื่องต่างๆในวันนี้ว่า ได้เปิดเผยถึงประเด็นที่ สบส. (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข) มีนโยบายปราบปรามเอเจนซี่ศัลยกรรมเกาหลีว่า “ ผมต้องขอชื่นชมในเรื่องนี้ เพราะ สบส. ออกมาทำงานเพื่อประชาชน เพื่อประเทศไทยเรา เพราะคนไทยส่วนใหญ่นั้นถูกการตลาดของต่างชาติ เข้ามาครอบงำ ทำให้ตกเป็นเหยื่อในการถูกหลอกไปทำศัลยกรรมที่เกาหลีใต้ ด้วยการจ่ายเงินที่สูงและผลทางการรักษาที่มีปัญหาแบบหลังทำทันที หรือที่จะมีตามมาในอนาคตแบบไม่รู้ตัว โดยที่ได้ข้อมูลต่างๆจากเอเจนซี่คนไทย แพทย์และสถานพยาบาลไทยที่ทำสัญญาในเรื่องการได้ผลตอบแทนร่วมกัน เมื่อมีคนจ่ายเงินไปทำศัลยกรรม แต่ไม่มีเรื่องข้อตกลงในการดูแลชดเชยหากมีปัญหาหลังทำไว้ชัดเจนแบบตอนที่จะเอาเงินคนไข้เลย
“ที่ผ่านมาการนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาให้คำปรึกษา หรือว่าผ่าตัดคนไข้ซึ่งเป็นการผิด กฏหมาย ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ก็ได้มีการพัฒนาที่เลี่ยงการทำผิดด้วยการ กระทำการผ่านสื่อออนไลน์ หรือผ่านตัวแทนบุคคล ที่อ้างว่าได้รับการอบรมจากสถาบันสอนให้เป็นเอเจนซี่ศัลยกรรมเกาหลี แต่ไม่ได้มีการรับรองจากหน่วยงานทางการแพทย์ของไทยเลย ซ้ำร้ายการที่นำแพทย์ต่างชาติเข้ามาทำงานหาเงินในประเทศไทยนั้น เป็นการกระทำที่ดูแคลน ด้อยค่า ศักยภาพแพทย์ไทย แต่ไปเชิดชูแพทย์ต่างชาติเข้าทางการตลาดของเค้าอีกด้วย ในปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นทางแพทยสภา ได้มีการดำเนินการนโยบายเรื่องการอบรม ความรู้ ความสามารถ และจริยธรรมของแพทย์ไทยให้อยู่ในระดับมาตราฐานเดียวกัน เมื่อแพทย์ที่เข้าการอบรมนั้นเมื่อผ่านเกณฑ์แล้วก็จะได้รับใบรับรองไปใช้ในการประกอบวิชาชีพจริงๆได้ด้วยครับ ส่วนที่มีการสอบถามว่า หากมีปัญหาจากการไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลีจะทำยังไง ต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าเป็นการติดต่อโดยผ่านทางสถาพยาบาล หรือแพทย์ไทย นั้น ทางแพทย์ที่ร่วมกระทำจะมีการพิจารณาดำเนินการ จากแพทยสภา ในส่วน สบส. จะดูดำเนินการเรื่องสถาพยาบาล และในคนที่เสียหายหน่วยงาน สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ก็จะเข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าวครับ”
ติดต่อเรื่องต่างๆแพทยสภาได้ที่ https://www.tmc.or.th/check_md/