ททท. เดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม ชมแพทย์ไทยเก่งไม่แพ้ต่างประเทศ

Home / ข่าวและกิจกรรมดารา / ททท. เดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม ชมแพทย์ไทยเก่งไม่แพ้ต่างประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศัลยกรรมความงามเป็นเรื่องปกติสำหรับคนไทยยุคใหม่ไปแล้ว เพราะผู้หญิงไทยมองว่าถ้าสวยแล้ว สามารถอยู่ในสังคมด้วยความมั่นใจ ทำให้สร้างรายได้ในการทำงาน และเพิ่มโอกาสทางสังคมมากขึ้น ขณะเดียวกันการศัลยกรรม ก็เป็นประตูสู่ช่องทางการสร้างรายได้เข้าประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันนี้แพทย์ไทยก็เก่งมีความสามารถไม่แพ้แพทย์ต่างประเทศเลยก็ว่าได้

โดย “คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์” รองผู้ว่าฯ ททท. ได้เปิดเผยว่า ข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยงเชิงสุขภาพและความงามที่เข้ามาใช้บริการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและความงามเพิ่มสูงขึ้น ส่วนสมาคมแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทยก็มีนโยบายที่จะทำให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

ตอนนี้ทาง ททท. ได้มีโครงการอะไรที่เกี่ยวกับ medical hub ซึ่งจะสอดคล้องกับทางวาระแห่งชาติ บ้างไหม? “จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 – 2569) โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Medical and Wellness Tourism อีกทั้งนโยบายดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญของรัฐบาลซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 โดยการขับเคลื่อนใน 4 มิติหลัก ได้แก่ 1. ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) 2. ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) 3. ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) 4. ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559 ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ โดยใช้ศักยภาพความแข็งแกร่งด้านระบบบริการสุขภาพของประเทศดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเพื่อรับบริการจนสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ

ในส่วนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้นำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) มีการจัดทำคู่เมืองท่องเที่ยวเส้นทางสุขภาพ: พื้นที่ หัวหิน ชะอำ ภูเก็ต ระนอง เชียงใหม่ กระบี่ การจัดทำมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการสุขภาพ รางวัล Thailand Tourism Awards (TTA) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย Thailand International Health Expo 2022 แสดงศักยภาพด้านการแพทย์และบริการสุขภาพครบวงจร

การจัดกิจกรรม Media และ Agent Famtrip 

มีความคิดเห็นยังไงที่ คนไทยนิยมไปทำศัลยกรรมต่างประเทศ ซึ่งจริง ๆ แพทย์ไทยก็มีความสามารถตรงนี้เป็นที่ยอมรับหากแต่ขาดการประชาสัมพันธ์? “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตลาดกลุ่มสินค้าและธุรกิจบริการสุขภาพ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท คาดว่าภายหลังจากการเปิดการค้าเสรี AEC จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการขยายการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของโรงพยาบาลเอกชนทั้งในกรุงเทพและพื้นที่ที่มีศักยภาพในต่างจังหวัด เพื่อรองรับผู้รับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับประเด็นการให้บริการด้านทำศัลยกรรมของประเทศไทยนั้น ททท. พบว่าประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักดีทั่วโลก มีความพร้อมของสถานพยาบาลเอกชนชั้นนาซึ่งมีชื่อเสียง มีมาตรฐานนานาชาติ มีบริการครบวงจรโดยผู้ให้บริการมี Service Mind และ Hospitality สูง และเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ตลอดทั้งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญรองรับอุปสงค์ของการรักษาพยาบาลชาวต่างชาติ และอัตราค่าบริการรักษาพยาบาลมีราคาเหมาะสมเมื่อเทียบกับคุณภาพ รวมถึงความโดดเด่นด้านการแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย แต่หากรัฐบาลสามารถจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติที่บริหารและขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และอาจรุนแรงขึ้นเมื่อต้องให้บริการแก่ชาวต่างชาติ รวมทั้งภาคเอกชนยังไม่สามารถร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์ได้ ควบคู่กับการปรับปรุงและแก้ไขกฎ ระเบียบ ในการดำเนินธุรกิจสุขภาพยังเป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ โดยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับการจัดบริการสุขภาพที่เป็น Trend และสอดรับกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่า การให้บริการด้านทำศัลยกรรมของประเทศไทยนั้น เป็นการขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน หรือเฉพาะกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการ โดยขาดการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 – 2569) โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จะกำหนดให้การบริการด้านการแพทย์ (Medical Service) ใดเป็น Key Project เช่น ศัลยกรรม ก็สามารถกำหนดเพื่อการขับเคลื่อนในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ททท. ได้ส่งเสริมการบริการด้านศัลยกรรมของประเทศไทย โดยการดำเนินโครงการ Thailand Extreme Makeover เพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (Medical Tourism) เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 25 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 45 ปี ผ่านช่องทางออนไลน์ เน้นรูปแบบเรียลลิตี้ให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้และเกิดคุณค่าจากประสบการณ์ตรง”

เป็นไปได้ไหมจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การนวัตกรรม ความก้าวหน้า แลนด์มาร์ค เรื่องทางการแพทย์ของเอเชีย เพราะนอกจากมาหาหมอแล้วยังได้มาพักผ่อนดูแลตัวเองไปพร้อม ๆกันด้วย? “ททท. พิจารณาว่า ตลาด Medical tourism มีขนาดใหญ่และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Wellness Tourism ซึ่งผู้รับบริการชาวต่างชาตินิยมแสวงหาบริการรักษาพยาบาลนอกประเทศ เนื่องด้วยหากต้องรักษา ในประเทศตนเองจะมีค่าใช้จ่ายสูง/ มีคิวเข้ารับ การรักษานาน ตลอดจนไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากระบบประกันสุขภาพได้ ตลอดทั้งการรวมกลุ่มประเทศภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนและการเจรจาการค้าเสรีอื่น ๆ ทาให้มี การเคลื่อนย้ายของประชากร ตลอดจนการเติบโตของการค้าและการลงทุนในธุรกิจสุขภาพ ล้วนแต่สร้างโอกาสที่ดีในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Medical Hub ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งก่อนและหลังการรักษาพยาบาลในประเทศไทย (Pre-Post Medical Service) โดยนิยม การ Shopping การนวดและสปาไทย การท่องเที่ยวในพื้นที่ทะเลทางภาคตะวันออกและภาคใต้ และศึกษาเรียนรู้ชมเมือง ทัศนียภาพความสวยงามของประเทศไทย”