กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่าย แถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “สงกรานต์นี้ กลับบ้าน พาลูกหลาน กลับมาเรียน” ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร ชั้น 1 กรุงเทพฯ จตุจักร (หมอชิต 2)

โดยภายในงาน ได้รับเกียรติจาก คุณพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นำทีมเครือข่าย นายชัชวาล พรอมรธรรม กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.), คุณสุชาติ อินทร์พรหม กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด รายการหมอลำไอดอล และ ตัวแทนศิลปิน คุณอิงฟ้า วราหะ มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2022 ที่มาร่วมพูดคุยถึงโอกาสการศึกษาให้ไปถึงเยาวชนให้กับได้มากที่สุด ถือเป็นทางเลือกใหม่การศึกษายืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต ไปหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาทั่วประเทศ
“อิงฟ้า วราหะ” เปิดใจในงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ว่า ทุกคนมองเห็นว่าเราเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนที่สู้ชีวิตได้ในวัยเรียน ซึ่ง จริงๆเป็นการยืดหยุ่นทางการศึกษา เพราะว่าในวัยเรียนของเราเราสามารถทำงานไปด้วยได้ ก็มีช่วงนึงที่เราไม่ได้เรียนก็เหมือนเสียโอกาสไปก็เลยอยากให้เรามาช่วยเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียง ให้กับเด็กๆ ที่มีทุนการศึกษา หรือครอบครัวที่มีบุตรเยอะ ที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง อันนี้ก็จะได้ไม่เสียโอกาสทางการเรียนไป

สำหรับการศึกษาถือว่าสำคัญต่อเด็กมาก เพราะเป็นเรื่องของการต่อยอด และการทำงานหลายๆ อย่างได้ สามารถเพิ่มเงินเดือนได้ และโครงการนี้ 3 ข้อที่ฟ้ามองว่าเป็นประโยชน์ และควรพาลูกหลาน เข้ามาร่วมโครงการคือ 1. ปลอดภัยของพื้นที่การเรียนรู้ เพราะปกติเราจะเจอเด็กนักเรียนไปโรงเรียน แต่อันนี้โรงเรียนมาหาเด็กนักเรียนถึงที่ อันนี้ก็ถือเป็นเรื่องของความปลอดภัย แนะนำแล้วก็แนะแนว การศึกษาและแนวทางให้กับเด็กๆ ได้ 2. คือไม่เสียโอกาสทางด้านการเรียน และการทำงานสามารถทำควบคู่กันไปได้ สองอย่างภายในระยะเวลาเดียวกัน 3.คือฟรีค่ะ ไม่มีค่าใช้จ่าย
ส่วนตัวบอกเลยว่ารู้สึกอิจฉามากที่เราโตเร็วเกินไปนิดหนึ่ง ถ้าเรามีช่วงเวลาที่มีโครงการนี้ขึ้นมาพอดี คือมันไม่มีอะไรที่จะต้องเสียเลย ฟรีทุกอย่าง ได้วุฒิการศึกษาเทียบเท่ากับโรงเรียนทั่วไป และที่สำคัญสามารถทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยได้ มันก็เหมาะกับครอบครัวแบบปัจจุบันที่มีเยอะมาก สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนและเสียสละ ช่วงเวลาที่ตัวเองไปทำงาน อันนี้ถือว่าตอบโจทย์ถึงที่แล้ว ก็ต้องขอบคุณโครงการดีๆ ของ กสศ. อยากจะบอกผู้ปกครองทุกคนว่าข่าวดีมาถึงแล้ว เมื่อไหร่ที่น้องๆ ได้รับการศึกษามันไม่ใช่เรื่องของการต่อยอด รายได้อย่างเดียว แต่มันเป็นเรื่องของสังคม หรือสิ่งที่เด็กๆ สามารถต่อยอดของตัวเองได้อย่างเช่นการเพิ่มเงินเดือนต่างๆ เมื่อมีความรู้มีวุฒิการศึกษา การต่อยอดนี้ก็จะทำให้ครอบครัวสบายได้ ก็สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว๊บไซต์กสศ. ได้เลย
นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ.เข้าใจสภาพปัญหาของเด็กเยาวชนและครอบครัวยากจน ด้อยโอกาส จึงพัฒนาโครงการโรงเรียนเคลื่อนที่ Mobile School เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา เพราะมีข้อจำกัดในชีวิต มีทางเลือกมากกว่าการเรียนในระบบโรงเรียน โดยมีเครือข่ายศูนย์การเรียนโดยสถาบันทางสังคมทั่วประเทศ ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ จัดการเรียนรู้คุณภาพทั้งรูปแบบ Online และ Onsite มีครูพี่เลี้ยง ช่วยแนะแนว ให้คำปรึกษา และร่วมออกแบบแผนการศึกษา เส้นทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความพร้อม ความถนัด ความสนใจที่แตกต่างกันเป็นรายคน โดยจะทำงานร่วมกับลุง ป้า น้า อา ในชุมชน ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันว่า ผู้จัดการรายกรณีหรือ (Case Manager : CM) ของเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ที่กระจายอยู่ในทุกหมู่บ้านทั้ง 77จังหวัด ร่วมขับเคลื่อนโครงการ Thailand Zero Dropout ของรัฐบาล
โดยตลอดเดือนเมษายน พฤษภาคม 2568 นี้ โครงการโรงเรียนเคลื่อนที่ Mobile School เข้าเรียนไม่ได้ให้โรงเรียนไปหาของ กสศ.ร่วมมือกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินโครงการ Thailand Zero Dropout เคลื่อนขบวนคาราวาน จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาและเปิดรับสมัครเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับมาเรียน โดยเชิญชวนผู้สนใจทุกท่าน พบกันตามวันเวลาและสถานที่ ดังต่อไปนี้
วันที่ 22 เม.ย. 2568 เริ่มต้นกันที่ อบต.หนองสนิท อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
วันที่ 24 เม.ย. 2568 พบกันที่ริมรางรถไฟเมืองขอนแก่น
วันที่ 28 เม.ย. 2568 ที่เทศบาลตำบลลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
วันที่ 30 เม.ย. 2568 พบกัน ณ อบต.ถ้ำเจริญ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ

โครงการ “โรงเรียนเคลื่อนที่ Mobile School เข้าเรียนไม่ได้ให้โรงเรียนไปหา” ของกสศ.เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 7 -24 ปี จากทั่วประเทศ ที่ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบอื่นได้ ตั้งแต่ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือหากจังหวัด และท้องถิ่นใดต้องการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างโอกาสการศึกษาให้กับเด็กๆ สามารถติดต่อที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. โทร.02 -079 5475 ต่อ 0 หรือ www.eef.or.th และ เฟซบุ๊กแฟนเพจ กสศ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา




