ครูก้อย นัชชา

อายุมากมีลูกยาก ป้องกันเซลล์ไข่เสื่อม ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

Home / ข่าวและกิจกรรมดารา / อายุมากมีลูกยาก ป้องกันเซลล์ไข่เสื่อม ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (free radicals) หรือ Reactive oxygen species (ROS) เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์ เป็นกระบวนการเกิดอนุมูลอิสระที่สร้างความเสียหายแก่เซลล์ หากร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ที่จะมาจัดการกับ ROS ไม่เพียงพอจะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ถูกทำลายจนเสื่อมไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้แก่เร็ว ผิวพรรณโร่งรวย และก่อให้เกิดโรคต่างๆ รวมถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิงด้วย ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่จะกลายเป็นทารกน้อยในครรภ์มารดา และเซลล์ไข่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในร่ายกายผู้หญิงที่เซนซิทีฟต่ออนุมูลอิสระมากที่สุด

“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการบริหาร บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้เพจยอดนิยม https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยาก ที่เผยแพร่ความรู้จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากและโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงเกิดมาพร้อมกับเซลล์ไข่ 6 ล้านฟองตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และเมื่อคลอดออกมามีเซลล์ไข่ติดตัวมาประมาณ 1- 2 ล้านใบ โดยเซลล์ไข่จะลดลงเรื่อย ๆ จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น และจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งในวัยเจริญพันธุ์ที่เริ่มมีประจำเดือน อายุประมาณ 13 ปี ไข่จะเหลือแค่ประมาณ 7 แสนใบ และเซลล์ไข่จะลดลงประมาณ 1,000 ใบในทุกรอบเดือน และในช่วงชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ใช่คนรังไข่เสื่อมจะมีจำนวนไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400 – 500 ฟอง เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงฟองเดียวที่สมบูรณ์ เมื่อมีอายุมากขึ้นส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่ด้อยลง และมีอนุมูลอิสระที่มาก โดยในผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไปเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์ ไข่จะลดลงอย่างรวดเร็ว และโครโมโซมในเซลล์ไข่มีโอกาสผิดปกติของสูงถึง 50% และเมื่ออายุ 40 ปี โครโมโซมมีโอกาสผิดปกติสูงถึง 85 – 90% และมีความเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมสูง นอกจากนี้อายุที่มากขึ้นยังส่งผลต่อฮอร์โมนเพศที่ลดลง รังไข่เสื่อม ปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วมาจากอนุมูลอิสระในร่างกายที่มากขึ้นตามอายุ

อนุมูลอิสระทำให้เซลล์ไข่ไม่สวย เซลล์ไข่แก่ ไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนได้ อันเนื่องมาจากเมื่อมีอายุมากและมีอนุมูลอิสระเยอะ พลังงานในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ลดลง ซึ่งไมโตคอนเดรียทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ซึ่งอยู่รูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ เมื่ออายุมากพลังงานในไมโตคอนเดรียจะลดลง ไม่มีพลังงานเพียงพอ ส่งผลให้ปฏิสนธิไม่สำเร็จ หรือ หากปฎิสนธิตัวอ่อนมักไม่มีพลังงานมากพอในการแบ่งเซลล์ ทำให้ไม่สามารถแบ่งเซลล์ไปถึงระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) จึงไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ โดยเฉพาะคนที่ทำเด็กหลอดแก้ว หรือ อิ๊กซี่ (ICSI) ที่ต้องดูดไข่ออกมาปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ต้องอาศัยไข่ที่มีคุณภาพ มีอนูมูลอิสระน้อย และมีพลังงานสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิและแบ่งเซลล์ไปถึงระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งเป็นระยะพร้อมในการย้ายตัวอ่อนไปฝังในมดลูกเพื่อเติบโตเป็นทารกต่อไป และยังลดโอกาสเสี่ยงจากความผิดปกติของโครโมโซมอีกด้วย

ดังนั้นอนุมูลอิสระเกี่ยวข้องโดยตรงกับเซลล์ไข่ของผู้หญิงเพราะอนุมูลอิสระจะไปทำลายเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายไม่เว้นแม้แต่เซลล์ไข่ ซึ่งเซลล์ไข่ เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในร่ายกาย และเซนซิทีฟต่ออนุมูลอิสระมากที่สุด

มีรายงายวิจัยบ่งชี้ว่า ไข่มีความอ่อนไหวต่อ ROS เพราะระดับ ROS ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ DNA ของไข่ถูกทำลาย ทำให้เกิดปัญหามีบุตรยากตามมา ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งมีสาเหตุทั้งปัจจัยภายใน ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองจากกระบวนการเผาผลาญ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และจากปัจจัยภายนอก เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต การทานอาหารของผู้คนที่เร่งรีบในชีวิตประจำวัน อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือทานอาหาร Fast food กินไขมันทรานส์ อาหารแช่แข็ง อาหารที่ต้องอุ่นไมโครเวฟ รวมถึงสิ่งแวดล้อม เจอฝุ่นควัน มลภาวะ แสงแดด หรือแม้แต่ควันบุหรี่จากคนรอบข้าง ซึ่งล้วนแล้วกระตุ้นให้ร่างกายผลิตอนุมลอิสระมากขึ้น

อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Antioxidants Reduce Oxidative Stress in Follicular Fluid of Aged Women Undergoing IVF ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology and Endocrinology ปี 2016 ที่ศึกษาเกี่ยวกับ “สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดสภาวะความไม่สมดุลในการเกิดอนุมูลอิสระในของเหลวในถุงหุ้มไข่ ในผู้หญิงอายุมากที่เข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว” โดยได้ทำการเก็บตัวอย่าง Follicular Fluid (FF) จากสตรีมีบุตรยากที่อายุมากกว่า 39 ปี ที่เข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว โดยแต่ละคนจะถูกประเมินค่า Follicular Fluid ในช่วงกระตุ้นไข่ และก่อนเก็บไข่ 2 รอบ โดยรอบแรกไม่ได้รับวิตามิน เพื่อเปรียบเทียบกับรอบที่สองที่ได้รับวิตามินล่วงหน้า 3 เดือน ผลปรากฏว่า รอบที่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrients) ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ปริมาณอนุมูลอิสระใน Follicular Fluid ลดลงอย่างมาก ดังนั้น การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอก่อนการเก็บไข่ จะช่วยสร้างสภาวะของของเหลวในถุงหุ้มไข่ให้ปกติ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ เมื่อเก็บไข่จะได้ไข่ใบที่สุกพร้อมปฏิสนธิ

ดังนั้น สำหรับผู้ที่เตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการทางการแทพย์เพื่อเตรียมตัวทำอิ๊กซี่ (ICSI) การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอก่อนการเก็บไข่จะช่วยสร้างสภาวะของของเหลวในถุงหุ้มไข่ให้ปกติ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ เมื่อเก็บไข่จะได้ไข่ใบที่สุกพร้อมปฏิสนธิ เป็นการเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว



โดยสารต้านอนุมูลอิสระแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Primary antioxidant เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายของเรา ผลิตขึ้นเอง ตามธรรมชาติ มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ SOD, Catalase (CAT) และ Glutathione Peroxidase (GPx) แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นความสามารถในการผลิตสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติของร่างกายจะลดน้อยลง การเลือกเสริมสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับจากภายนอก หรือ Secondary antioxidant จากอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย ซึ่ง A.O.S By KruKoy มีทั้ง Primary antioxidant และ Secondary antioxidant ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ 10 ชนิด ได้แก่ แอสตาแซนทีน จากสาหร่ายฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ที่ให้แอสตาแซนทีนและถูกขนานนามว่าเป็นราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีการรับรองจากสิทธิบัตร AstaZine® นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น สารสกัดจากเมล่อน นิโคตินาไมด์ สารสกัดจากเปลือกองุ่น สารสกัดจากอาซาอิ สารสกัดจากมังคุด แอล-ซิสเทอีน สารสกัดจากเรดเคอแรนต์ สารสกัดจากแบล็กเคอแรนต์ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ที่ เว็บไซต์ https://www.babyandmom.co.th/all-products/a.o.s-by-krukoy